Skip to content Skip to footer

ไม่นานเกินรอ กับรถไฮโดรเจน

ในที่สุดสังคมไทยก็เริ่มตื่นตัวและให้ความสนใจพลังงานทางเลือก อย่างจริงจัง หลังจากได้รับใบเรียกเก็บเงินค่าไฟที่พุ่งกระฉูดเพิ่มจากเดิมกว่าเท่าตัว ใครที่มีสมาชิกในครอบครัวเยอะหรือเปิดธุรกิจด้วย ถึงกับกุมขมับเพราะตัวเลขเพิ่มขึ้นไปถึง 4-5 เท่าเลยก็มี ความสนใจในเรื่อง แผงโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าเองจึงตามมา รวมไปถึงรถยนต์พลังงาน ไฟฟ้า เนื่องจากพอจะเห็นเค้าลางๆ แล้วว่า ต้นทุนเชื้อเพลิงของรถที่ใช้ พลังงานคาร์บอนที่กำาลังจะหมดไปนั้น อาจทำาให้หมดตัวได้ง่ายๆ

แต่การซื้อรถยนต์พลังงานทางเลือกสักคันไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด เพราะ ในพลังงานทางเลือกก็ยังมีพลังงานทางเลือกแตกย่อยไปอีก เล่มที่แล้ว ผู้เขียนทิ้งคำถามชวนคิดไว้กับคุณผู้อ่านเกี่ยวกับรถยนต์พลังงานทางเลือก ไฮโดรเจนอย่าง TOYOTA MIRAI ที่ทั้งคอนเซปต์และสมรรถนะสุดเจ๋ง ว่าทำไมรถยนต์ที่ฟังดูดีขนาดนี้ถึงกลับมีกระแสเงียบขนาดนั้น มาดูกันต่อ

TOYOTA MIRAI ที่ทั้งแรง ทั้งประหยัด การใช้งานเรียกได้ว่าแทบ ไม่มีอะไรเปลี่ยนไปจากรถยนต์สันดาปน้ำมันเชื้อเพลิงในมุมของผู้ขับขี่ เติมก๊าซได้ไวใน 5 นาที แต่แม้นวัตกรรมจะดีแค่ไหน สิ่งที่เป็นหัวใจ อาจไม่ใช่ตัวรถ แต่เป็นระบบนิเวศแวดล้อมที่ทำาให้การใช้งานรถยนต์เกิดขึ้น ได้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งพลังงานที่เข้าถึงได้ เช่น สถานีเชื้อเพลิง ซึ่งไม่ต่างอะไรกับเหตุผลที่ว่า ทำไมรถยนต์ไฟฟ้าญี่ปุ่นถึงปังที่ประเทศอื่น แทนที่จะเป็นประเทศผู้ผลิต เพราะประเทศผู้ผลิตอย่างญี่ปุ่นนั้น สถานี ชาร์จหายากเหลือเกินด้วยพื้นที่ที่จำกัด

MIRAI นั้นสามารถทำตลาดได้แค่ในเฉพาะบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา แถมความคืบหน้าของแผนการขยายสถานีไฮโดรเจน ร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นในประเทศต่างๆ ยังถือได้ว่าน้อยมาก แนวร่วมการ ผลิตในวงการรถยนต์เองก็แทบไม่มี ถ้าหากบริษัทมองว่า MIRAI คือ อนาคต การหาแนวร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอาจเป็นโจทย์ที่ต้อง ปลดล็อกให้สำเร็จเสียก่อน

แต่ก็ไม่ใช่ว่าความพยายามของโตโยต้าเองจะหยุดอยู่แค่นั้น ล่าสุดได้มีการจับมือกับบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) เพื่อ ผลักดันสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย โดย เริ่มศึกษาจากการผลิตไฮโดรเจนโดยใช้ก๊าซชีวภาพที่ได้จาก ของเสียจากฟาร์มในประเทศไทย ไฮโดรเจนจะถูกนำมาใช้กับ รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง โดย ‘ทรูลีสซิ่ง’ ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซีพีที่ให้บริการด้านการขนส่ง โดยมี Hino Motors ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของโตโยต้าเป็นผู้ร่วมหลัก

ไม่เพียงเท่านั้น โตโยต้ายังได้ร่วมกับ 3 พันธมิตรด้าน พลังงานในไทย ทั้ง PTT–OR และ BIG เปิดสถานีต้นแบบ เติมไฮโดรเจนสำาหรับรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิงแห่งแรกของ ประเทศไทยที่อำาเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี โดยมี Toyota Mirai ในรูปแบบรถรับส่งระหว่างสนามบินอู่ตะเภา ให้บริการ นักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจในพื้นที่พัทยา–ชลบุรี และพื้นที่ ใกล้เคียง สอดรับกับนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ และจะทำาการ เก็บข้อมูลเชิงเทคนิคที่ได้จากการใช้งานจริง เพื่อสร้างการรับรู้ และเป็นข้อมูลรองรับการขยายผลใช้งานในอนาคต

นอกจาก MIRAI ที่เป็นรุ่นซีดานแล้ว โตโยต้ายังเดินหน้า ผลิตรถยนต์พลังงานไฮโดรเจนกับรถรุ่นยอดนิยมอย่างรถกระบะ ไฮลักซ์ ซึ่งถือเป็นโปรเจกต์ทดลอง โดยมาในรูปแบบการรวม กลุ่มคอนซอร์เตียม นำาโดยโตโยต้า สหราชอาณาจักร และ ได้รับทุนสนับสนุน 11.3 ล้านปอนด์ (ราว 700 ล้านบาท) ครึ่งหนึ่งมาจากรัฐบาลอังกฤษ อีกครึ่งหนึ่งมาจาก Advanced Propulsion Centre ที่สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์ พลังงานสะอาด บริษัทมีแผนจะเริ่มการผลิตที่โรงงาน Burnaston ใกล้กับเมือง Derby ในอังกฤษ ในปีนี้อีกด้วย

แม้จะอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการผลักดัน แต่อย่างน้อยเรา ก็เริ่มได้เห็นอนาคตของพลังงานทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น ซึ่งเหล่านี้ก็จะเป็นประโยชน์อย่างแน่นอนต่อสภาพแวดล้อมที่จะ เป็นมิตรกับมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าพลังงานทางเลือกนั้น จะเป็นอะไร มาจับตาดูกันต่อไปนะคะ