Skip to content Skip to footer

การเดินทาง อันแสนยาวไกล

อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล

เคยคิดสงสัยบ้างไหมว่า ในวันที่พระสมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีก่อน เวลานั้นเราอยู่ที่ไหน ?

เป็นมนุษย์ถ้ำ เป็นคนหาบฟืน เป็นพ่อค้า คหบดี หรือ เป็นพราหมณ์ เป็นนักบวชนอกศาสนา กำ ลังนั่งบูชาไฟ บูชา พระอาทิตย์ เป็นนักพรตนิยมการทรมานตนเอง เป็นสัตว์ เดรัจฉาน ถูกเขารังเกียจ ถูกล่าเป็นอาหาร เป็นโค กระบือ ถูกใช้ งานอย่างหนัก หรือกำ ลังใช้กรรมอยู่ในนรก เป็นคนอินเดียที่ได้ยิน มาว่า มีพระพุทธเจ้ามาอุบัติแล้ว แต่ไม่เชื่อ จึงยังคงใช้ชีวิตอยู่ใน วัฏจักรเช้า สาย บ่าย ค่ำ อยู่ในขนบเดิมที่ไม่อาจนำ พาให้หนีจาก วงจรแห่งทุกข์ไปได้

เป็นนักรบที่ดาบเปื้อนเลือด เข่นฆ่าประหัตประหารผู้อื่นเพื่อ ลาภและสรรเสริญ เป็นเทวดาที่กำ ลังเสวยทิพยสุข หรือเป็นเทว- ปุตตมารผู้มีจิตริษยา คอยขวางการทำ ความดีของผู้อื่น เป็นเทพ ชั้นพรหมที่หลงคิดว่าตนบรรลุแล้ว หรือเป็นสัมภเวสี รอโอกาสใน การได้ชีวิตใหม่…

ไม่ว่าในอดีตที่ผ่านมานับอเนกอนันตชาติ เราจะเคยเกิด เป็นอะไรมาบ้าง แต่ช่างเป็นบุญใหญ่เหลือเกินที่ ณ กึ่งพุทธกาลนี้ เราได้ความเป็นมนุษย์ผู้ประเสริฐ สามารถฟันฝ่าอุปสรรคทาง ใจ ฟันฝ่าแรงต้านที่มองไม่เห็น จนสามารถพาชีวิตที่แล่นท่องไปใน มหรรณพแห่งความทุกข์โศก นำ พานาวาชีวิตมายืนอยู่ที่ใกล้ประตู นิพพาน เป็นผู้เตรียมพร้อมกายและใจในการพาจิตฝ่าทะลุมิติเพื่อ การมีจิตเป็นอิสระ ไม่ต้องกลับมาเป็นใครอีกเลย จบสิ้นการเวียน ว่ายในสังสารวัฏ

…แล้ววันนี้ บุญใหญ่ที่ว่า เพิ่มพูนขึ้นหรือถูกบั่นทอนให้ติดลบ

ในกาลก่อนอันยาวไกลนั้น หากท่านสุเมธดาบสไม่ตั้งจิต ปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะได้สำ เร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอนาคต แม้ประทีปแห่งชีวิตเล่มน้อย เราคงไม่มีทางได้มองเห็น ท่านสุเมธดาบสต้องเวียนว่ายตายเกิดสร้างบารมีในฐานะพระ โพธิสัตว์ถึง 4 อสงไขยกับหนึ่งแสนกัป ที่บางชาติต้องตายอย่าง ทุกข์ทรมานเพื่อนำ พาเวไนยสัตว์ให้พบทางพ้นทุกข์ พบทางเดิน ออกจากวงจรที่แสนมืดมน มืดด้วยความหลงผิด มืดมนด้วยมี กรรมเป็นตัวกำ หนด มีการปรุงแต่งในกองสังขารเป็นปัจจัยสร้าง ภพภูมิ มีกิเลสที่จรมาบงการให้เป็นทาสทางความคิด อย่างไม่มี ทางรู้เงื่อนงำ ที่ซ่อนอยู่

เราช่างเป็นผู้มีวาสนานักที่ได้อยู่ในข่ายพุทธบารมี คอยโอบ อุ้มดวงจิตให้พ้นภัย ดุจบิดาเฝ้ามองลงมายังบุตรผู้หลงทาง และหา ทางช่วยทุกอย่าง หวังว่าบุตรนี้จะรอดพ้นจากเงื้อมมือมาร ไม่ต้อง ติดกับดักและจมลงก้นบึ้งในวัฏสงสารอีกต่อไป

ในขณะที่บางมุมของโลก ผู้คนมากมายต้องตายด้วยไฟ สงคราม บ้างเป็นผู้อพยพ แต่เรากลับเป็นผู้มีโอกาส กำ ลังเดินอยู่ บนทางรอด เราจะประคองตนและกำ หนดแผนที่ชีวิตอย่างไร ให้ สมกับที่ชีวิตเดินทางมาถึงจุดนี้

เรายังจะโลดแล่นในโลกมายา พุ่งหลาวกระโจนลงไปอย่างไร้ พิกัด หรือจะทำ เพียงว่ายวนในวงจรนี้ แต่เป็นการว่ายเพื่อหาทาง ขึ้นฝั่ง

เราจะได้มีโอกาสบอกลาการได้มีเท้าสัมผัสพื้นดินเป็นครั้ง สุดท้าย หรือจะหายใจต่อไป โดยไม่มีหวังแม้แต่จะได้ความเป็น มนุษย์อีกครั้ง

พระพุทธองค์ทรงทำ เพื่อเรามามากแล้ว เป็นหน้าที่ของเราที่ ต้องตื่นขึ้นมาจริงๆ และใช้ชีวิตอยู่บนหลักการ มีความมุ่งมั่น หนัก แน่น มีวินัย ในการทำ ความปรารถนาอันสูงส่งให้เป็นจริงให้ได้ หาไม่แล้วทุกวันของชีวิตที่ผันผ่าน จะเป็นเพียงอีกวันที่สะสมกิเลส และเมล็ดพันธุ์ให้เติบใหญ่ เพื่อการสร้างภพภูมิต่อไปอย่างไม่จบสิ้น ในวันวิสาขบูชาปีนี้ นอกจากการปฏิบัติภาวนาเพื่อถวายเป็นพุทธ บูชาแล้ว พึงหยุดพักนิ่งๆ แล้วไตร่ตรองชีวิตว่า เราเดินห่างออกไป จากพระพุทธองค์เพียงใด ชีวิตของเรามุ่งไปทางไหน และสิ่งที่กำ ลัง ทำ อยู่นั้นให้อะไรกับเราบ้าง

จงเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ตื่นรู้ในการกระทำ ของตน แล้วกลับมาสู่ทิศ ที่ถูกต้องให้เร็วที่สุด มุ่งมั่น ทำ การเดินทางอันแสนยาวไกลให้จบ ลงในภพนี้ หรืออย่างน้อยที่สุดก็ในพุทธันดรที่ 28 นี้ ระหว่างทาง ที่เดินนั้น อาจมีสิ่งเย้ายวนใจให้หลงเพลินและหลงผิดไปหลายครั้งหลายครา แต่ขอจงอย่าลืมว่า ในทุกเส้นทางที่เราเดินผ่าน พระองค์ทรงมองดูอยู่ ด้วยความรักอันยิ่งใหญ่ที่ทรงมีต่อเรา

ในวันที่พระองค์ตรัสรู้ ณ ควงไม้โพธิ์ ทรงเปล่งพระปฐม วจนะว่า..

อะเนกะชาติสังสารัง สันธาวิสสัง อะนิพพิสัง คะหะการัง คะเวสันโต ทุกขา ชาติ ปุนัปปุนัง คะหะการะกะ ทิฏโฐสิ ปุนะ เคหัง นะ กาหะสิ สัพพา เต ผาสุกา ภัคคา คะหะกูฏัง วิสังขะตัง วิสังขาระคะตัง จิตตัง ตัณหานัง ขะยะมัชฌะคา

7 สัปดาห์หลังจากนั้น สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงทำ คือการทุ่มเททุกอย่างเพื่อเวไนยสัตว์ได้ถึงทางพ้นทุกข์

ทรงรอวันที่เราจะมีจิตเป็นอิสรภาพ

ทรงรอวันที่เราจะทำ ให้อเนกชาติ ถึงความเป็นเอกชาติได้

ทรงรอเราอยู่..

He’s waiting…. for us to be liberated.

แล้ววันนี้… เราอยู่ที่ไหน

วันนี้..เราทำ อะไรกันอยู่

อ่านฉบับเต็มได้ที่ นิตยสารข้ามห้วงมหรรณพ ฉบับที่ 57 สมัครสมาชิก คลิ๊กที่นี่

สำหรับลูกค้าในประเทศ

สั่งซื้อนิตยสารได้ที่นี่