อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล
”นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ เมื่อก่อนอาจารย์จะพาเด็กๆ ไปเวียนเทียนในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่วัดปทุมวนารามฯ เดี๋ยวนี้เน้นมาเป็นการสวดมนต์และปฏิบัติบูชาแทน เพราะมิค่อยสบโอกาสจะเดินทางไปเวียนเทียน แต่ก็บำ เพ็ญกุศลในโอกาสต่างๆ ที่วัด ดังที่ได้ทราบดี
การสวดมนต์ภาวนาบูชาอยู่แต่ที่บ้าน ก็จะทำ ให้คนในศาสนาอื่นและคนทั่วไปหลงคิดว่า ชาวพุทธไม่สนใจบำ เพ็ญบุญในวันสำ คัญแล้ว จะเป็นช่องให้บุคคลในศาสนาอื่นที่จ้องจะกลืนกินพุทธศาสนาเกิดความย่ามใจ เราจึงต้องปฏิบัติอยู่ในทางสายกลาง คือ ไม่ทิ้งวัด และก็ไม่ย่อหย่อนต่อการภาวนา
อย่าละทิ้งการไปบำ เพ็ญกุศลและการเวียนเทียน หากทำได้ จงไปเถิด โดยเฉพาะคนมีลูกหลานวัยเรียน ยิ่งต้องให้เขาไปอยู่ท่ามกลางหมู่ชนที่มีความศรัทธาต่อพระพุทธเจ้า การกระทำนี้เป็นการเพาะเมล็ดพันธุ์แห่งศรัทธา แม้ว่าในอนาคตจะมีคนทำ ให้เสื่อมศรัทธาต่อพระศาสนาไปบ้าง แต่คุณธรรมที่ได้รับการบ่มเพาะไว้ดีแล้ว จะทำ ให้เขาไม่ขาดไปจากพระศาสนาเสียทีเดียวแม้วันใดมีหลงไปบ้าง จะมีโอกาสรีเทิร์นกลับมาได้ เพราะจิตใต้สำ นึกคอยดึงไว้
พระมหากรุณาธิคุณของพระบรมศาสดามิอาจพรรณนาได้หมด เพียงแค่ในส่วนที่ทรงเสวยวิมุตติสุขจากการตรัสรู้เพียง 7 สัปดาห์ แล้วทรงออกสั่งสอนธรรมแก่มหาชนจวบจนเสด็จ ดับขันธปรินิพพาน เฉพาะส่วนที่ทรงตรากตรำ ทั้งการสอน การ เสด็จดำ เนินไปตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นช่วงเวลาที่อากาศร้อน จัด หนาวจัด เพียงส่วนนี้ส่วนเดียวก็ยิ่งใหญ่เหลือคณานับแล้ว ธรรมดาเมื่อบุคคลได้รับความสำ เร็จ ย่อมไม่อยากกลับไปอยู่ อย่างลำ บากอีก แต่พระองค์ทรงทนทุกขเวทนามา 6 ปีจากการ บำ เพ็ญทุกรกิริยา เมื่อตรัสรู้แล้วก็ยังทรงอุทิศพระองค์ กลับไปทรง ตรากตรำ อีกโดยไม่ห่วงใยพระวรกายเลย
ความจากพระไตรปิฎก พระพุทธองค์ทรงสอนว่า บุคคลผู้มี อุปการคุณมาก ได้แก่ 1. ผู้ที่สอนให้สามารถถึงซึ่งพระรัตนตรัย เป็นที่พึ่ง 2. ผู้ที่สอนให้สามารถได้ความเป็นโสดาปัตติผล 3. ผู้ที่ สอนให้สำ เร็จอรหัตตผล ครูบาอาจารย์เช่นนี้เป็นผู้ที่มีอุปการคุณ มาก สูงสุดคือบรมครู คือ พระบรมศาสดา รองมาคือสงฆ์ หรือ ครูบาอาจารย์
พระพุทธองค์ตรัสว่า แม้ผู้เป็นศิษย์จะนำ ปัจจัย (ทรัพย์) มา ถมให้ทั่วทั้งจักรวาล ก็มิอาจทดแทนบุญคุณท่านได้หมด…
ประการแรกนั้น เมื่อเราซึ่งนับถือพุทธอยู่แล้ว อาจคิดว่าไม่ ค่อยสำ คัญเท่าใด แต่เมื่อมาพิจารณาดูจะพบว่า พระบรมศาสดา ทรงเปลี่ยนผู้ไม่มีศรัทธา ผู้มืดบอด ผู้โอหัง ทะนงตน คนเหล่านี้ ยากนักที่จะฟังใคร เพราะอัตตาท่วมจิตท่วมใจ แต่พระองค์ทรง เปลี่ยนเขาให้เป็นผู้มีศรัทธาได้ ยามใดที่บุคคลนั้น ไม่ว่าจะเป็น พระราชา มหาเศรษฐี หรือยาจก เกิดศรัทธาขึ้นมา จึงเปล่งวาจา เบื้องหน้าพระพุทธองค์ว่า “พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ” และบ้างก็เปล่งวาจา ว่า “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ” เป็นการเปล่งวาจาด้วยศรัทธาและองอาจ ในการก้าวเดินออก จากความมืดมาสู่เส้นทางแห่งแสงสว่างเพื่อการสิ้นทุกข์ ดัง เรื่องเล่าที่คัดลอกมาดังนี้ว่า…
“ณ แดนหิมวันตประเทศ มีเทือกเขาชื่อว่า สาตาคีรี เป็นที่ ร่มรื่น รมณียสถาน เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมเทพยดาอันมี นามตามที่อยู่ว่า สาตาคิรยักษ์ มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าหิมวันต์ทางทิศ เหนือ เป็นบริวารของท้าวเวสสุวรรณ สาตาคิรยักษ์ได้มีโอกาสสดับ พระสัทธรรมจากพระบรมศาสดาจนมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เปล่ง คำ ยกย่องบูชาด้วยคำ ว่า “นะโม” หมายถึง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นใหญ่กว่ามนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ ทั้งปวง
กล่าวฝ่าย อสุรินทราหู เมื่อได้สดับพระกิตติศัพท์ของ พระบรมศาสดา ก็มีจิตปรารถนาที่จะได้ฟังธรรมของพระบรม- ศาสดาบ้าง แต่ด้วยกายของตนใหญ่โตเท่ากับโลก จึงคิดดูแคลน พระบรมศาสดาว่า มีพระวรกายเล็กดังมด จึงอดใจรั้งรออยู่ พอ นานวันเข้าพระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยิ่งขจรขจาย ไปทั้งสามโลก จนทำ ให้อสุรินทราหูอดรนทนอยู่มิได้ จึงเหาะมา ในอากาศ ตั้งใจว่าจะร่ายเวทย่อกาย เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มี- พระภาคเจ้าขอฟังธรรม แต่พอมาถึงที่ประทับ อสุรินทราหูกลับต้องแหงนหน้าคอตั้งบ่า เพื่อจะได้ทัศนาพระพักตร์พระบรม- ศาสดา พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงพระสัทธรรม ชำ ระจิตอัน หยาบกระด้างของอสุรินทราหูให้มีความเลื่อมใสศรัทธา แสดง ตนเป็นอุบาสกผู้ถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกล่าวสรรเสริญ พระบรมศาสดาว่า “นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ”
จากผู้หลงวนในความมืดเป็นผู้เดินอยู่ในทางสว่าง อุปการ- คุณนี้จึงยิ่งใหญ่
ส่วนของการสอนให้ได้เข้าถึงการเป็นโสดาบัน คือการเมตตา สอนสั่งให้ได้เป็นผู้จบสิ้นการเวียนว่ายในสังสารวัฏที่ว่ายวนมา อย่างยาวนานเป็นอสงไขยกัป ให้เหลือเพียงการเกิดเป็นมนุษย์อีก เพียง 7 ชาติ ก็จะเข้าถึงพระนิพพานแน่นอน พระมหากรุณาธิคุณ และพระคุณของพ่อแม่ครูอาจารย์จึงยิ่งใหญ่เหลือคณา เกินขอบ จักรวาล เพราะจักรวาล คือการว่ายวน แต่นิพพาน คือการจบสิ้น การว่ายวน บุญคุณนี้จึงมิอาจตอบแทนได้หมด เช่นเดียวกับการ สอนให้บรรลุอรหัตตผล ที่พระคุณนั้นยิ่งใหญ่ขึ้นไปยิ่งกว่า
บรมครู ครูบาอาจารย์ผู้สามารถเปลี่ยนและสอนสั่งบุคคลให้ เข้าถึงสภาวะทั้งสามนี้ จึงเป็นผู้มีอุปการคุณมิมีประมาณ จนไม่ อาจมีสิ่งใดมาตอบแทนได้
กตัญญูต้องมาพร้อมกับ กตเวทิตา คือการตอบแทนท่าน การปฏิบัติบูชา คือการตอบแทนอันเยี่ยมยอด การช่วยเหลือกิจ งานด้านธรรมะ ช่วยสืบสานธรรมของพระบรมศาสดา เป็นการ ตอบแทนด้วยการให้ธรรมอันน่านับถือ การปกป้องพระบรม- ศาสดาและพระพุทธศาสนา คือการตอบแทนที่ควรแก่การยกย่อง สรรเสริญ
ในเมื่อแม้จะนำ ปัจจัย มากองถมให้ทั่วจักรวาล ก็ไม่อาจ ตอบแทนได้หมด ก็หมายความว่า ต้องน้อมสำ นึกกตัญญูอย่าง แนบแน่นที่สุดของจิตใจ และเพียรตอบแทนเสมอไปเท่าที่จะ สามารถทำ ได้จนลมหายใจสุดท้าย ผู้ใดที่คิดว่าทำ พอแล้ว ทำ ดีแล้ว ทำ บ้างไม่ทำ บ้าง ทำ ตามอำ เภอใจ คืออยากทำ ก็ทำ ไม่ อยากทำ ก็ทอดธุระ หมางเมิน เห็นแต่ประโยชน์ของตนเป็นตัว ตั้งเสมอ โดยเฉพาะบุคคลที่ปิดอบายภูมิได้ไปจนถึงผู้ได้ธรรม แต่ละลำ ดับขั้น พึงสำ นึกไว้ด้วยว่า คุณธรรมที่คิดว่ามี ความดีที่ คิดว่ามีมากกว่าคนอื่นๆ จริงๆ แล้ว ตัวตนที่แท้จริงของตนเป็น อย่างไร และเมื่อมิอาจรักษาความกตัญญูให้แนบแน่น ไม่มั่นคงใน กตเวทิตาแล้ว ผลที่พึงได้รับในกาลข้างหน้าจะเป็นเช่นไร
การไม่หมั่นเพียรตอบแทนพระคุณ ก็แทบไม่ต่างอะไรกับ การอกตัญญู เพราะได้เป็นเพียงผู้ที่คิดอยู่ในใจ อ้างเหตุนานัปการ โดยไม่พยายามลงมือทำ เมื่อปล่อยให้อกุศลจิตเข้าครอบงำ จน ละเลยไม่เพียรแสดงกตเวทิตาในวิสัยที่ตนทำ ได้แล้ว ยามใดที่ ไม่ประสบในสิ่งที่ปรารถนา พึงรำ ลึกไว้ด้วยว่า นี่อาจเป็นด้วย บุพกรรมอันทราม ที่ตนทำ ต่อผู้มีอุปการคุณมาก
อาจารย์อยากถือโอกาสวันวิสาขบูชา เตือนใจผู้ที่กำ ลัง ประมาทด้วยหลงโลกว่า อกุศลธรรมหรือวิบากใดในชีวิต ก็ล้วน เกิดด้วยเหตุแห่งความประมาท อันเป็นพระปัจฉิมวจนะในวันที่ ทรงเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า…“ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เรา เตือนท่าน สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา ท่านทั้ง หลายจงยังความไม่ประมาท ให้ถึงพร้อมเถิด”
ประพฤติธรรมแล้ว ก็พิจารณาถึงความประมาททั้งหลาย ของตนด้วย เพื่อการไม่ถูกบาปและอกุศลวิบากซ้ำ เติม
อ่านฉบับเต็มได้ที่ นิตยสารข้ามห้วงมหรรณพ ฉบับที่ 57 สมัครสมาชิก คลิ๊กที่นี่
สำหรับลูกค้าในประเทศ