
อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล
ความรัก ในมุมทางโลกมักถูกมองเป็นเรื่องความรักของ คนสองคน ใจสองดวงที่อยากมีทางเดินร่วมกัน ซึ่งไม่มี อะไรผิด แต่ความรักที่ให้น้ำาหนักของฝั่งเสน่หามากเกินไปจน ลืมมองดูคุณลักษณะอื่นๆ เป็นรักด้วยอารมณ์พาไป ในเวลา ไม่นาน รักแรกเสน่หาจะแสดงตนให้เห็นธาตุแท้ว่า ที่จริงแล้ว สิ่งที่เรียกว่ารักมันเป็นเพียงความลุ่มหลงเท่านั้นเอง เพราะเมื่อ อีกฝ่ายทำาสิ่งที่ไม่ได้ดังใจ ไม่พอใจในแบบที่ตนคาดหวัง ความ รักนั้นจะจืดจางไปเรื่อยๆ จนถึงกาลสิ้นรัก เพราะพื้นฐานสำาคัญ คือการอยากให้ผู้เป็นที่รักมีความสุข แน่นไม่พอ
ผู้ที่จะพบรักแท้ได้จะต้องเป็นผู้ที่เห็นคุณค่าของตนเองและ ของผู้อื่น ด้วยกุศลนี้ จะทำาให้เป็นผู้ที่ได้พบรักแท้ เพราะมีจุด เริ่มต้นที่มาจากการให้ ไม่ใช่การรอรับ
การจะพบรักได้ต้องเริ่มต้นที่รักตัวเอง คือปรารถนาอยาก ให้ตัวเองมีความสุข ผู้ที่รักตัวเองไม่ได้ แล้วจะส่งมอบความรักให้แก่คนอื่นได้อย่างไร การคิดอยากทำาร้ายตัวเองหรือด้อยค่า ตัวเองเสมอ คือการไม่รักและไม่สงสารจิตวิญญาณของตัวเอง
ตามกฎของแรงดึงดูด เมื่อบุคคลหันมารักตัวเองด้วยการ ไม่ทำาให้ตนเป็นทุกข์ ดูแลเอาใจใส่จิตใจตนเองไม่ให้หม่นหมอง จนเกินไป กระแสเช่นนี้จะถูกดึงให้เข้าไปอยู่ในหมู่ของผู้ที่รัก และเห็นคุณค่าของตัวเอง เป็นการจูนเข้าหากันตามกฎของ คลื่นความถี่เดียวกัน ที่เปิดโอกาสทำาให้ได้พบคนที่คิดแบบ เดียวกัน มีความชอบเหมือนๆ กัน และในที่สุดก็พัฒนามาสู่… การได้มีทางเดินร่วมกัน
ผู้ที่เป็นคู่บุญหรือคู่รักแท้ที่เรียกว่าได้พบบุพเพสันนิวาส ก็เกิดมาจากการเสียสละ อยากให้อีกฝ่ายมีความสุข สำาหรับ ผู้ที่ยังไม่พบคู่บุญ หากไม่เกิดจากเวลาที่ยังมาไม่ถึง หรือ บุพกรรมที่ทำาให้ร้างคู่ ส่วนหนึ่งนั้นก็เกิดจากการไม่อดทนหรือ เสียสละในการทำาให้คู่รักในอดีตได้พบความสุข เป็นความรัก ที่มีทั้งผลักทั้งดึง คือผลักไสออกไปยามไม่พอใจ และดึงเข้ามา ยามต้องการให้ตนเองพอใจ แทนการปรับตัว ฟันฝ่า และ เสียสละเพื่อกันและกัน การดึงเข้าและผลักออกในภาษาธรรม ก็คือตัณหานั่นเอง ส่วนการเสียสละเพื่อความสุขซึ่งกันและกัน ก็คือความเมตตา
ดังนั้น ความเมตตาจึงคือความรักที่มีอยู่ในความสัมพันธ์ ทุกรูปแบบ ในกฎของธรรมะนั้น บุคคลหว่านเมล็ดพันธุ์ใดไว้ ย่อมได้ผลเช่นนั้น หากเป็นผู้ที่มีเมตตากับผู้อื่นมาก ก็ย่อมเป็น ผู้ได้รับความรักตอบแทน ซึ่งตรงกันข้ามกับตัณหา ที่เริ่มต้น จากการอยากได้รับก่อน แล้วจึงให้เป็นการตอบแทน หาก ปรารถนาได้พบรักแท้ ต้องเปลี่ยนมุมมองจากการอยากได้รับมา สู่การเป็นผู้ให้ก่อน แล้วความรักจะเดินทางมาถึง..
บทความต่อไปนี้ อาจารย์เขียนไว้นานแล้ว เป็นบทความ สะท้อนมุมมองของความรักทั้งทางโลกและทางธรรมได้ดี
“เกลียดวันนี้ที่สุด”…14 กุมภาพันธ์ วันวาเลนไทน์ คือวัน ที่มักได้ยินคำาข้างบนเสมอจากมนุษย์ไร้คู่ ผู้มีหัวใจไร้คนรัก วัน นักบุญเซนต์วาเลนไทน์กลายเป็นวันกุหลาบแพง วันคนสวยได้ แสดงความป็อปปูลาร์ วันคนร้างคู่รู้สึกอับเฉา วันคนไม่มีคู่ใจ รู้สึกเกลียดตัวเอง วันคนแฟนเยอะรู้สึกอึดอัด วันพ่อค้าแม่ค้า ตั้งหน้าตั้งตาทำามาหากิน และเป็นวันที่โลกถูกฉาบด้วยสีชมพู ปรุงแต่งกันได้เมามัน มหัศจรรย์จริงๆ
“ความเอยความรัก เริ่มสมัครชั้นต้น ณ หนไหน” อาจารย์ก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันมาได้อย่างไร รู้แต่ว่ามาทีไร ถอนไม่ออก ไล่ก็ยาก ใจโดนกระชาก บางคนช้ำาใจตายเพราะ รัก และบางคนยอมพลีชีพได้ด้วยเหตุแห่งรัก
อาจารย์ขอยกธรรมนิยายอิงประวัติในพุทธกาลของอาจารย์ วศิน อินทสระ ชื่อหนังสือ “พระอานนท์ พุทธอนุชา” มาให้ อ่านแทน เป็นช่วงที่นางโกกิลาหลงรักพระอานนท์ เป็นเรื่อง หวานปนเศร้าที่แสดงให้เห็นแง่มุมของความรักในแบบโลกีย์ แต่กว่าจะเดินทางผ่านมรสุมแห่งใจมาสู่รักแห่งโลกุตระ หัวใจของโกกิลาผู้ปรารถนาในรักก็แทบแตกเป็นเสี่ยงๆ
ความย่อมีว่า นางโกกิลาเป็นนางทาสีหรือนางทาสอัน ต่ำาต้อยที่ไปหลงรักพระอานนท์ผู้สูงศักดิ์ แม้ยามนั้นท่านจะ เป็นพระภิกษุแล้ว แต่ด้วยฐานันดรเดิมที่มีศักดิ์เป็นพระอนุชา ของพระพุทธเจ้า ปุถุชนก็ยังเคารพในฐานันดรศักดิ์เดิม นาง โกกิลาหลงรักพระอานนท์ด้วยเหตุแห่งความเป็นผู้มีปิยวาจาอัน อ่อนโยน และด้วยกระแสจิตแห่งความเมตตาที่ไม่ได้แสดงความ รังเกียจนางโกกิลาเลยแม้แต่น้อย ในขณะที่ได้พบกันที่ทางเดิน ท่านได้บิณฑบาตขอน้ำาดื่มจากไหที่นางแบกมา เมื่อได้สนทนา ทำาให้นางโกกิลาหลงรักพระอานนท์ทันที จนเดินตามไปถึงวัด เชตวัน พระอานนท์ได้ขอให้นางกลับไป แต่นางกลับตอบว่า
“ข้าพเจ้าไม่กลับ ข้าพเจ้ารักท่าน ข้าพเจ้าไม่เคยพบใครดี เท่าท่าน” พระอานนท์ได้สอนนางถึงเรื่องการพิจารณาคนด้วย โยนิโสมนสิการ คือการไตร่ตรอง แล้วกล่าวอีกว่า “น้องหญิง ความรักเป็นเรื่องร้าย มิใช่เป็นเรื่องดี พระศาสดาตรัสว่า ความรักเป็นเหตุให้เกิดทุกข์โศกและทรมานใจ เธอชอบ ความทุกข์หรือ”
“ข้าพเจ้าไม่ชอบความทุกข์เลยพระคุณเจ้า และความ ทุกข์นั้นใครๆ ก็ไม่ชอบ แต่ข้าพเจ้ามีความรัก โดยเฉพาะรัก พระคุณเจ้า”…นางยังกล่าวต่ออีกว่า “ข้าพเจ้ามีความสุขเมื่อได้ เห็นพระคุณเจ้า ได้สนทนากับพระคุณเจ้าผู้เป็นที่รักอย่างยิ่ง ของข้าพเจ้า รักอย่างสุดหัวใจทีเดียว” “ถ้าไม่ได้เห็นอาตมา ไม่ได้สนทนากับอาตมา น้องหญิงจะมีความทุกข์ไหม?” “แน่นอนทีเดียว ข้าพเจ้าจะต้องมีความทุกข์อย่างมาก” “นั่นแปลว่าความรักเป็นเหตุให้เกิดทุกข์แล้วใช่ไหม?” “ไม่ใช่ พระคุณเจ้า นั่นเป็นเพราะการพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ต่างหากเล่า มิใช่เพราะรัก” “ถ้าไม่มีรัก การพลัดพรากจาก สิ่งอันเป็นที่รักจะมีได้หรือไม่” “มีไม่ได้เลย พระคุณเจ้า”
แม้จะพ่ายแพ้ต่อปัญญาของพระอานนท์ แต่นางโกกิลา ก็หาได้ถอนใจรักจากพระอานนท์ไม่ นางเพียรทำาทุกวิถีทาง เพื่อจะได้อยู่ใกล้พระอานนท์ กระทั่งได้บวชเป็นภิกษุณี แต่ก็ ไม่สมหวัง แม้พระภิกษุณีจะแกล้งป่วยเพื่อให้พระอานนท์มา เยี่ยม เมื่อพระอานนท์รู้ทันและได้สอนธรรมแก่พระภิกษุณีว่า
“โกกิลาเอย เมื่อความรักเกิดขึ้น ความละอายและความ เกรงกลัวในสิ่งที่ควรกลัวก็พลันสิ้นไป เหมือนก้อนเมฆมหึมา เคลื่อนตัวเข้าบดบังดวงจันทร์ให้อับแสง ธรรมดาสตรีนั้นควรจะ ยอมตายเพราะความละอาย แต่แทนที่จะเป็นเช่นนั้น ความ ละอายมักจะตายไปก่อนเสมอ”
“น้องหญิง บัดนี้เธอมีธรรมเป็นเกาะ เป็นที่พึ่งแล้ว จงยึดธรรมเป็นที่พึ่งต่อไปเถิด อย่าหวังอย่างอื่นเป็นที่พึ่งเลย โดยเฉพาะความรักความเสน่หา ไม่เคยเป็นที่พึ่งจริงจังให้แก่ใคร ได้ มันเป็นเสมือนตอที่ผุ จะล้มลงทันทีเมื่อถูกคลื่นซัดสาด”
พระอานนท์ยังคงสอนต่ออีกว่า “ภคินีเอย อันธรรมดา ว่าความรักนั้น มันเป็นธรรมชาติที่เร่าร้อน ถ้ายิ่งมันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิด ที่ไม่เหมาะสมเข้าอีก ก็จะยิ่งเพิ่มแรงร้อนมากขึ้น การที่น้องหญิงจะรักอาตมา หรืออาตมาจะรักเธออย่างเสน่หา อาลัยนั้น เรียกว่าความรักอันเกิดขึ้นในฐานะที่ผิดหรือไม่เหมาะ สม ขอให้เธอตัดความรัก ความอาลัยเสียเถิด แล้วเธอจะพบ กับความสุขอันปลอดโปร่งอีกแบบหนึ่ง ซึ่งสูงกว่า ประณีตกว่า”
พระพุทธองค์ทรงทราบเหตุนี้ และได้ตรัสเตือนพระ อานนท์ซึ่งขณะนั้นยังเป็นเพียงพระโสดาบันเท่านั้น ซึ่งราคะ โทสะ และโมหะ ยังละไม่ได้นัก เป็นเพียงผู้มีศีลมั่นคงและขาด จากจิตพยาบาท จึงทรงเตือนไม่ให้ประมาท โดยตรัสสอนว่า
“ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งที่ดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราว ปรากฏเหมือนช้างตกมัน อานนท์ จงเอาสติเป็นขอสำาหรับ เหนี่ยวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำานาจ บุคคลผู้มีอำานาจ มากที่สุดและควรแก่การสรรเสริญนั้น คือผู้ที่สามารถเอาตน ของตนเองไว้ในอำานาจได้ สามารถชนะตนเองได้ พระศาสดา ตรัสว่า ผู้ชนะตนเองได้ ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอ จงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิด อย่าเป็นผู้แพ้เลย”
ในที่สุดพระภิกษุณีโกกิลาก็ฝ่าสงครามแห่งความรักด้วย การทำาศึกกับตัณหา คือความดิ้นรนอยากได้ในอารมณ์ที่ น่าใคร่น่าปรารถนา ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาและน้อมใจ ปลดเปลื้องสังโยชน์ คือกิเลสเครื่องร้อยรัดใจทีละชั้นๆ จนสำาเร็จ เป็นพระอรหันต์
ตราบใดที่โลกนี้ยังอบอวลไปด้วยกระแสแห่งความรักความ เสน่หา โลกนี้ก็ยังอัดแน่นไปด้วยสงครามแห่งตัณหา คือความ อยากได้ อยากมี อยากครอบครอง อยากเป็นเจ้าของ รักที่ ไม่บริสุทธิ์ย่อมเจือปนพิษอยู่ในนั้น เพราะดงรักคือดงอสรพิษ ล้วนๆ นี่ว่าตามปรมัตถธรรมที่เข้าถึงได้ด้วยวิปัสสนาญาณ อสรพิษมีจิตหวงแหนอันแน่นแฟ้นและมีความปรารถนาอัน ร้อนรุ่มอยู่ในนั้น เป็นจิตที่แฝงอยู่ในโลกธาตุของมนุษย์ และ นี่คือรักของปุถุชน ดังนั้นผู้มีรักย่อมมีความร้อนรุ่มใจ แม้ผู้ใด จะสมหวังในรัก แต่ยามที่ต้องประสบกับความพลัดพราก ความทุกข์ใจอันใหญ่หลวงก็จะถาโถมใจราวกับการตกจากที่สูง
สงครามของความรักในแบบปุถุชน คือการพยายามครอบ ครองผู้ที่ตนปองรัก แต่สงครามแห่งรักในธรรม คือการเอาชนะ กิเลสตัณหาที่พยายามเหนี่ยวรั้งตนไว้กับการยึดมั่นถือมั่นกับ ความรู้สึกที่เรียกว่า “รัก”
มีศิษย์วิปัสสนาคู่สามีภรรยาวัยเกษียณผู้ศรัทธาคู่หนึ่งฝ่ายสามีเป็นผู้มีความเพียรปฏิบัติจนเกิดมรรคผลเป็นอริยบุคคลและบัดนี้ท่านได้บวชในบวรพระพุทธศาสนาโดยคงบำาเพ็ญเพียร ปฏิบัติเตโชวิปัสสนาอย่างต่อเนื่อง แม้ภรรยาจะปฏิบัติเช่นกัน แต่เป็นผู้ไม่มีขันติเลย ปฏิบัติกี่คราก็นั่งภาวนาได้แค่ครั้งละ ไม่เกิน 1 ชั่วโมง วันหนึ่งเธอก็มากราบถามอาจารย์ด้วยใบหน้า อันเศร้าหมองว่าจะทำาอย่างไรให้เธอมีขันติขึ้นมาบ้าง อาจารย์ หยุดคิดครู่หนึ่ง ก่อนจะบอกเธอพร้อมๆ กับชี้ให้มองไปทาง พระคุณเจ้าที่นั่งภาวนาด้วยจิตตั้งมั่นอยู่ในเรือนปฏิบัติว่า “เห็นพระ ท่านมั้ย” “เห็นเจ้าค่ะ” “อยากตามท่านไปมั้ย ท่านไปไกลแล้วนะ”
พูดเพียงเท่านี้เธอก็น้ำาตาร่วง อาจารย์พูดกับเธอด้วยความ เมตตาและอ่อนโยนว่า “มองท่านแล้วนึกถึงท่านให้เป็นกำาลังใจ นะ เราเป็นคู่บุญคู่ชีวิตต่อกัน วันนี้พบทางแล้ว แม้ท่านจะ ไปก่อน แต่ใช่ว่าเราจะไปไม่ถึง ระลึกถึงท่านเป็นขวัญกำาลังใจ ให้เกิดขันติวิริยะ ช้าหรือเร็วยังไงก็ไปนิพพานด้วยกัน”
วันรุ่งขึ้นเธอมาบอกอาจารย์ด้วยใบหน้ายิ้มแย้มยินดีว่า เธอ มีวิริยะและขันติเพิ่มพูนขึ้นมากทีเดียว คนเรานั้น ขาดอะไรก็ขาด ได้ แต่อย่าขาดกำาลังใจ เมื่อใดก็ตามที่เราขาดซึ่งกำาลังใจ ชีวิตไป ต่อไม่ได้
ในมุมของความรัก หากมองให้เห็นและใช้ให้เป็นก็จะทำาให้ เกิดประโยชน์ยิ่งได้ ผู้ที่ยังมีรักแต่ไม่สามารถสละคืนความเสน่หา ให้เหลือเพียงรักที่มีแต่ความเมตตาได้ ก็ขอเติมความเมตตาให้ มากขึ้น ห่วงและหวงให้น้อยลง ใช้ความรักที่มีเป็นกำาลังใจ ให้แก่กันทั้งยามสุขและยามทุกข์ คนเรารักกันก็เพราะคำาพูด โกรธกันก็ด้วยคำาพูด คำาพูดมีทั้งด้านนุ่มนวลและเชือดเฉือน เช่นเดียวกับความรักที่เป็นได้ทั้งฝั่งสร้างและฝั่งทำาลาย ขึ้นอยู่ กับว่าเราจะพลิกด้านไหนขึ้นมา
เพียรพาจิตออกมามองความรักในความจริงเช่นที่มันเป็น ไม่ใช่เฉพาะในมุมหวานที่มุ่งแต่อยากจะเห็น ให้รักเป็นเครื่องมือ ในการเห็นทุกข์ ปัญญาที่ได้จากการมองทุกข์อย่างมีสติและ ยอมรับมัน มักจะเป็นปัญญาที่ทำาให้ได้พบกับอีกปลายทางหนึ่ง ที่นำามาซึ่งความสุขอย่างแท้จริงมาให้
มองรักให้เห็นเนื้อแท้ของรัก หากยังไม่พร้อมที่จะหยุดรัก ก็ทำาใจให้พร้อมที่ต้องเห็นธรรม เพราะธรรมในความรักมี ปลายทางที่เที่ยงแท้ คือการสูญเสียและการจากพราก
ไม่ว่าวันนี้จะรักใครหรือรักด้วยฐานะใด ขอให้รักที่ยังคงอยู่ ของทุกท่านเป็นบ่อเกิดแห่งปัญญา ทำาให้เราเป็นยอดคนแห่ง สงคราม เป็นนักรบผู้ชนะความอาลัย ชนะตัณหา และชนะใจ ตนเอง และขอให้พัฒนาความรักที่มีอยู่แล้วให้เป็นความรักที่ บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น เมตตาต่อกันยิ่งขึ้น เพราะนั่นคือคุณค่าที่แท้จริง ของความรัก