ชีวิตที่โลกไม่ช้ำ ธรรมไม่ให้ขุ่นของ คุณพัฒพงษ์ และคุณปรียามล ธนวิสุทธิ์
ในบรรดาคนดังในวงสังคม หรือที่เรียกกันว่า “ไฮโซ” นั้น ชื่อของคุณหมู พัฒพงษ์ และคุณหญิง ปรียามล ธนวิสุทธิ์ ผู้เป็นภรรยา นั้นต้องอยู่ในทำเนียบคนดังอันดับ ต้นๆ ของไทย ในฐานะของเจ้าของและผู้ก่อตั้งนิตยสาร HisoParty สื่อสิ่งพิมพ์รายเดือน อันดับต้นๆ ที่ผ่านร้อนผ่านหนาว ฝ่ากระแสขาลงของสิ่งพิมพ์ได้อย่างงดงามมาถึง 20 ปี
นอกจากความน่าติดตามของนิตยสารที่มีความเฉพาะเจาะจง เน้นการนำเสนอไลฟ์ สไตล์ของคนดัง และมุมมองการใช้ชีวิตของพวกเขาเหล่านั้นที่ให้ข้อคิดและไอเดียดีๆ ใน การตัดสินใจเรื่องต่างๆ ความน่าสนใจของผู้บริหารทั้งสองท่านก็ไม่น้อยไปกว่ากันเลย
ภายใต้ภาพลักษณ์ของมหาเศรษฐีผู้ชื่นชอบรถยนต์หรูและ หายาก คุณหมูยังเป็นผู้ที่ศึกษาพระเครื่องและเป็นนักวิปัสสนา จากวันที่เขาจรดปลายปากกาเขียนหนังสือเรื่อง I Love ธรรมะ จนถึงวันนี้ คุณหมูยังคงปฏิบัติวิปัสสนาอย่างสม่ำเสมอ แต่เบื้อง หลังการเปลี่ยนผ่านจากหนุ่มนักเรียนนอกที่ใช้ชีวิตเต็มที่ทางโลก มาเป็นคนที่ “อะไรก็ได้” แถมกลายเป็นที่ปรึกษาปัญหาชีวิตใน เพจ Patpong Thanavisuth ที่คุณหมูแชร์ธรรมะที่ได้เรียนรู้เป็น ภาษาสั้นๆ ง่ายๆ นี้ จะเป็นไปไม่ได้เลย ถ้าปราศจากความเข้าใจ และแรงสนับสนุนจากคู่ชีวิตที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขมากว่า 30 ปี ดังที่ พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “กัลยาณมิตรคือทั้งหมดของพรหมจรรย์”
ในวันนี้ พูดได้เต็มปากว่า ธรรมะ ได้ช่วยเติมเต็มความสุข และความร่มเย็นในชีวิตคู่และครอบครัวเป็นอย่างดี ซึ่งคุณหมูเอง ก็ยืนยันว่า ในบรรดาวิทยาการทั้งหมดบนโลกนี้ ไม่มีวิชาใดที่มี คุณค่ามากเท่ากับ วิชาของพระพุทธเจ้า อีกแล้ว
คนส่วนใหญที่มาสนใจธรรมะเพราะมีความทุกข์ มีปัญหา ชีวิต แต่สำหรับตัวพี่เองที่ชีวิต เรียกได้ว่าสมบูรณ์พร้อมเกือบ ทุกอย่าง อะไร นำพาให้เริ่มสนใจ ธรรมะคะ
คุณหมู – ใช่ ก็จริงอยู่ที่มอง ผ่านๆ แล้วชีวิตพี่ไม่น่าจะมีอะไรให้ ทุกข์ขนาดต้องแสวงหา แต่มันคือ ความเข้าใจอย่างมาก ทำไมเราถึงคิด ว่า ต้องมีทุกข์ถึงเข้าหาพุทธศาสนา ขึ้นชื่อว่ามนุษย์ จะยากดีมีจน มีทุกข์เป็นธรรมดาอยู่แล้วนะครับ แต่เรามองไม่เห็น คิดว่าทุกข์คือความโศกเศร้าเสียใจ นั่นไม่ใช่นะ ถ้าเรายังมีอาการรัก โลภ โกรธ หลงอยู่ เรายังมีอาการเครียดอยู่ ก็ ยังมีทุกข์แต่อาการมันยังไม่ออก มันมีกลไกระบบของทุกข์บีบคั้น เราอยู่ อารมณ์เร้าภายนอกเข้ามากระทบปั๊บ มันก็จะปรุงแต่ง ที่ เราไม่รู้ว่าทุกข์เพราะเราตามมันไม่ทัน และคิดว่าความทุกข์มีแต่ ความโศกเศร้าเสียใจ ความโกรธ
สำาหรับตัวเองนั้นสนใจธรรมะมาตั้งแต่เด็กแล้ว ตอนนั้นอายุ ได้ 7- 8 ขวบ ได้เรียนวิชาศีลธรรมในโรงเรียน ก็สงสัยมาตลอดว่า พระพุทธเจ้าสอนอะไร ไปวัดก็เห็นพระสงฆ์ เห็นพระพุทธรูป ก็ได้ ฟังพระเทศน์ ได้ฟังคำสอนเกี่ยวกับพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ กับเรื่องศีล 5 ว่าคนเราต้องถือศีล 5
ตอนเรียนเรื่องของศีลแต่ละข้อ พี่ยิ่งคิดว่า พระพุทธเจ้าน่าจะ สอนอะไรมากกว่านั้นนะ มันก็เลยเป็นคำาถามที่อยู่ในหัวสมองเรา ตลอดจนกระทั่งโตขึ้นมา ก็ใช้ชีวิตไปตามกระแส ไปเรียนเมืองนอก ก็ยิ่งห่างไกลพระศาสนาไปใหญ่เลย จนเรียนจบกลับมาไทย ตอน นั้นอายุสัก 27-28 ปี ก็เริ่มกลับมาทางนี้อีกครั้ง
มีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้กลับมาคะ
คุณหมู – มันเริ่มมีความสับสนว่าอะไรคือความถูกต้อง วัฒนธรรมฝรั่งสอนแบบนี้ดี เมืองไทยสอนอีกแบบดี หรือสิ่ง เดียวกัน แต่สอนตรงกันข้ามเลย เช่น คนตะวันตกสอนลูกให้รู้จัก ดูแลตัวเองตั้งแต่เล็ก ยิ่งดูแลตัวเองได้มากเท่าไหร่ ยิ่งเก่ง ยิ่งน่า ชื่นชม แต่เมืองไทยเนี่ย การพึ่งพาตัวเองบางทีมันเลยเถิดไปกลาย เป็นเด็กไม่เห็นหัวผู้ใหญ่ ไม่เอาใคร บางทีถูกมองว่าเป็นคนยโส โอหัง เช่นนั้นแล้ว ตรงไหนคือความพอดี ตรงไหนคือความถูกต้อง
ณ วันนี้ เราก็เห็นว่าคนรุ่นใหม่จะมั่นใจในตัวเองสูง ยิ่งคนที่ โตเมืองนอก ยิ่งเชื่อมั่นตัวเอง แล้วคำาสอนเรื่องความเชื่อฟัง ความ อ่อนโยนล่ะ อยู่ที่ไหน แล้วจะต้องบาลานซ์ที่จะฟังผู้ใหญ่อย่างไร เพราะผู้ใหญ่มีทั้งดีและไม่ดี ก็มีคำาถามอีกว่า “ดี” เนี่ย ต้องดูตรง ไหน ทั้งหมดนี้คือสิ่งที่เราสงสัย มันก็มีคำาถามต่อมาว่า ใครจะให้คำา ตอบได้ว่าอะไรคือความดีที่แท้จริง ความดีหนึ่งเดียวที่เราจับต้องได้ ความดีหนึ่งเดียวที่เรายึดถือได
สิ่งที่พี่ตามหาคือ หลักแห่งความดีที่ไม่ต้องตั้งคำถามอีกต่อไป
คุณหมู – ถูกต้องเลย แล้วพี่ก็ถามคนรอบข้างเยอะมาก ไม่มี ใครให้คำตอบได้ บางครั้งคนฟังนึกว่าเป็นการประชดประชันไปเลย แล้ววันหนึ่งพี่ก็ได้ไปได้ยินคำาเทศน์ของสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) เรื่องความสุข พี่ก็ตกใจเลย พระพุทธเจ้าทรง สอนเรื่องความสุขด้วยเหรอ เป็นครั้งแรกเลยที่ได้ยินแบบนี้
เย็นวันนั้น พี่ไปซื้อหนังสือธรรมะมาเป็นตั้งเลย นี่แหละคือ ทางที่มันชัดเจน นี่คือสิ่งที่มันเป็นคำถามในหัวเราตั้งแต่ 8 ขวบ เริ่มตะลุยอ่านหนังสือธรรมะได้ 40-50 เล่มเลย เข้าใจบ้าง ไม่ เข้าใจบ้าง ระบบการเรียนการสอนศาสนาพุทธไม่ได้มีการเรียบ เรียงให้เป็นระบบในสมัยนั้น ทำให้ความรู้ความเข้าใจเหมือนจิ๊กซอว์ที่ต้องปะติดปะต่อเอง เริ่มอ๋อ เข้าใจล่ะ มันเป็นอย่างนี้ นี่เอง กลไกของทุกข์มันบีบคั้นเราแบบนี้นี่เอง อย่างนี้นี่เอง เราถึง โกรธ จากนั้นก็เริ่มลงมือเอาสิ่งที่เรียนมาปฏิบัติในชีวิตประจำาวัน พยายามควบคุมสติทั้งกาย วาจา ใจ และนั่งสมาธิไปด้วยกัน
นับจากวันนั้นถึงวันนี้ คำถามเริ่มต้นเมื่อตอน 8 ขวบ ได้ รับคำตอบหรือยงคะ
คุณหมู – ไม่มีคำถามอีกแล้วครับ แต่พี่พบว่าคำาตอบนั้นมีหลายชั้น
ถ้าเช่นนั้น ขอคำตอบที่คนทั่วไปฟังแล้วเข้าใจว่า ทำไมมนุษย์ เราต้องมีหลักศาสนาหรือหลักความดีในการใช้ชีวิต
คุณหมู – เมื่อเช้าวันนี้พอดีเลย พี่เขียนลงในเพจเฟซบุ๊กว่า คนเราใช้ชีวิตหาความสุขไปวันๆ ทำมาหากินสุจริต มีความสุขใน แต่ละวัน ไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น ไม่ให้ใครมาเบียดเบียนเรา แค่ นี้ก็พอแล้วไม่ได้เหรอ ทำไมต้องเรียนรู้ธรรมะ ทำาไมต้องปฏิบัติ ธรรม สิ่งนี้เรียกว่าวิถีของปุถุชน คนทั่วไปทั้งโลกก็ทำกันอยู่ อะไร ที่เราคิดว่าดีเราก็ทำ ทำงานก็เป็นงานสุจริต ตรงนี้เราเรียกว่า ปุถุชนคนดี แต่ไม่รู้ธรรมะ สุดท้ายก็ยังเวียนว่ายตายเกิดอยู่
คนดีเหล่านี้ยังมีทุกข์อยู่มั้ย หรือคนที่ทำงานทางสังคมเป็น จำนวนมากนี่แหละ คนที่ดีแสนดีที่ไม่รู้ธรรมะ ยึดดี ถือดี อวดดี ขึ้นมาเมื่อไหร่นี่ เขาสามารถชั่วยิ่งกว่าคนชั่วที่เราเห็นๆ เสียอีก เพราะว่า “ความดี” มันมีเสน่ห์ มันน่าหลงใหล เพราะมันทำให้ เราภูมิใจ ลำพองใจ ยึดติดกับมันได
สิ่งที่พี่พูดถึงคือ การติดดี?
คุณหมู – ใช่เลย คือมันดีแต่ไปต่อไม่ถูกทิศ ความดีระดับ นั้นมันทำาให้เราเกิดความภาคภูมิใจว่า ฉันอยู่เหนือคนอื่น พอ เกิดอาการติดดี ถือดี สิ่งที่ตามมาคือการเบียดเบียน เริ่มทะเลาะ กัน เกลียดชังกัน จนอาจถึงขั้นลงไม้ลงมือ ดังนั้นมันก็เลยกลับ มาได้ข้อสรุปว่า ความดีที่คนเรายึดถือว่าดีก็ไม่มีอยู่จริง มีจริงแต่ ไม่จริงแท้ มีจริงแบบลุ่มหลง ยึดติดในความดีเมื่อไหร่ย่อมเป็น ทุกข์เสมอ เหมือนข้าวของ สมบัติพัสถานทั้งหลายที่เราเห็นตรง นี้ แม้แต่ความรู้สึกต่างๆ ที่เรารู้สึกว่ามันคือตัวตนเรานี่ ไม่มีอะไร จริงแท้สักอย่าง ถ้าเรายึดนะ จะทุกข์เสมอ อย่างเดียวที่จริงแท้ คือ ความไม่มีอะไรเลย ความว่างเปล่า ไม่มีแม้กระทั่งความดี อย่าง “อนัตตา” เนี่ยพี่ใช้เวลาเป็น 10 ปีนะกว่าจะเข้าถึง เรา ได้ยินมาตั้งแต่เด็ก อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ทุกอย่างมาจากการ เข้ามาปฏิบัติด้วยตนเองทั้งนั้น
อ่านฉบับเต็มได้ที่ นิตยสารข้ามห้วงมหรรณพ ฉบับที่ 52 สมัครสมาชิก คลิ๊กที่นี่