ลมหายใจนี้เพื่อรัสเซีย
ในบรรดาผู้นำาของโลก ณ เวลานี้ คงไม่มีใครที่จะ โดดเด่นไปกว่าประธานาธิบดีวลาดีมีร์ ปูติน แห่ง รัสเซีย ผู้ซึ่งมีแสงสปอตไลต์สาดส่องมากที่สุดคนหนึ่งของ โลก แต่กลับเต็มไปด้วยปริศนาที่แม้แต่คนรอบข้างก็ไม่อาจ เข้าถึง ถ้าจะให้สรุปสั้นๆ แต่ชัดเจน คือ ปูตินคือรัสเซีย และ รัสเซียก็คือปูติน
กว่าสองทศวรรษแห่งการครอบครองอำานาจ เป็นที่ ประจักษ์ชัดแล้วว่า อดีตเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการลับ เคจีบี เป็นผู้นำาที่เฉียบขาด และไม่รั้งรอที่จะใช้ความรุนแรง และอำานาจแทรกแซงเพื่อให้สิ่งต่างๆ เป็นไปตามที่ตน ต้องการ ไม่ว่าจะเป็นกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศ เพื่อนบ้าน การข่มขู่ และปิดปากสื่อมวลชนและคู่แข่ง ทางการเมืองที่วิพากษ์วิจารณ์ตัวเขาและรัฐบาล ที่เห็นได้ชัด คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะเปิดทางให้เขาสามารถดำารง ตำาแหน่งได้จนถึงปี ค.ศ. 2036 นอกจากนี้ เขายังได้รับการ สนับสนุนจากบุคคลที่มีอิทธิพลกลุ่มต่างๆ จึงทำาให้เขามี อำานาจที่แข็งแกร่งมั่นคงยิ่งขึ้น
ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2000 นักเขียนคอลัมน์ของ หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ วิลเลียม ซาไฟร์ (William Safire) ได้เขียนบทความในหัวข้อ “ลัทธิปูตินกำาลังมา” ซึ่งขณะนั้น ปูตินดำารงตำาแหน่งรักษาการประธานาธิบดี ได้เพียงหนึ่งเดือน โดยซาไฟร์ได้มองเห็นถึงลักษณะการ ทำางานของปูตินที่มุ่งสร้าง “ลัทธิความนิยมในตัวบุคคล” และ “ปิดบังความจริง” เพื่อนำาพาให้รัสเซียกลับมารุ่งเรือง อีกครั้ง
การบุกยูเครนในครั้งนี้ นับเป็นวิกฤตช็อกโลกก็ว่าได้ นัก วิเคราะห์การเมืองทั้งหลายต่างก็คาดไม่ถึงว่า “ลัทธิปูติน” จะพัฒนา มาไกลถึงจุดนี้ได้ เป็นที่รู้กันว่าเขามีความใฝ่ฝันที่จะทำาให้รัสเซียกลับ มาผงาดอย่างยิ่งใหญ่อีกครั้ง แต่ไม่คาดคิดว่า เขาจะยอมทำาอะไรที่ เสี่ยงกับแผนการที่ต้องการให้รัสเซียเป็นผู้นำาเศรษฐกิจของโลกใน อนาคต และนี่เป็นอีกครั้งที่โลกประเมินปูตินผิดไป
ย้อนไปเมื่อปี ค.ศ. 2008 เหตุการณ์รัสเซียบุกประเทศเพื่อน บ้านอย่างจอร์เจีย ซึ่งเขาเรียกว่า “ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ” โดย อ้างเหตุผลว่า เพื่อหยุดยั้งการเข้าเป็นสมาชิกนาโต การบุกยูเครน ก็ไม่แตกต่างกันเลย เหตุผลยังคงเดิม คือ หากประเทศเหล่านี้ซึ่ง มีพรมแดนติดกับรัสเซียได้กลายเป็นสมาชิกนาโต จะกระทบต่อ ความมั่นคงของรัสเซียอย่างใหญ่หลวง ไม่ต่างกับการมีเพื่อนบ้าน ที่อยู่ติดกัน แต่ดันไปคบค้าสมาคมกับกลุ่มที่ไม่ค่อยถูกขี้หน้ากับ เราเท่าไหร่นัก ทั้งนี้ ปูตินมั่นใจว่า นี่คือหนทางที่ถูกต้องในการที่จะ สร้างความแข็งแกร่งให้กับรัสเซียในเวทีการเมืองโลก
เมื่อดูจากนโยบายด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจของปูตินแล้ว ดูเหมือนว่าเขาได้เลือกเส้นทางนี้ในการบรรลุสู่การเป็นมหาอำานาจ ในเวทีโลก นอกจากเหตุการณ์นี้แล้ว ก็ยังมีเรื่องราวกระทบกระทั่ง กับอีกหลายประเทศ อาทิ วิกฤตการณ์ไครเมีย ซึ่งส่งผลให้ไครเมีย เข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัสเซียในปี ค.ศ. 2014 การส่งกองกำาลัง เข้าไปในซีเรีย กรณีพิพาทเกี่ยวกับพรมแดนและน่านน้ำากับญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
แม้ว่าจะไม่มีใครรู้แน่ว่า เหตุใดปูตินจึงมีความมุ่งมั่นในวิถี ทางนี้ และนโยบายแข็งกร้าวจนเข้าขั้นหมกมุ่น แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์รัสเซียเชื่อ คือ ส่วนหนึ่งเกิดจากความรู้สึกอับอายชนิดฝังรากลึกต่อการล่มสลายของสหภาพโซเวียต เมื่อปี ค.ศ. 1993 วิกฤตเศรษฐกิจในรัสเซียอันเกิดจากความ วุ่นวายทางการเมืองรุนแรงถึงขนาดต้องขอความช่วยเหลือจาก ชาติตะวันตก ซึ่งเขาเคยกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า มันคือ “หายนะทาง ภูมิศาสตร์การเมืองที่เลวร้ายที่สุดแห่งศตวรรษ”
ในมุมมองของผู้คนในแวดวงการเมือง เห็นว่า ภายใต้บุคลิก ที่ดูเฉยเมยและน่าเกรงขาม ปูตินเป็นคนที่สามารถปรับตัวให้เข้า กับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก ในสมัยแรกๆ เมื่อเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2001 ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช แห่งสหรัฐฯ ได้พบกับ เขา และกล่าวชื่นชมเขาว่า เป็นบุคคลที่ “ตรงไปตรงมาและน่า ไว้วางใจ” และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ เขาก็ได้สร้างภาพลักษณ์ ว่า เขาคือชายมาดแมนแข็งแกร่ง ธรรมะธัมโม ให้ความสำาคัญกับ สถาบันครอบครัว และมีคุณธรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อวิเคราะห์ จากพฤติกรรมและคำาพูดหลายอย่าง โดยเฉพาะนิสัยชอบพูดจา ข่มคนหน่อยๆ ไปจนถึงทำาให้คนอื่นอับอายต่อหน้าสาธารณชน แล้ว ทุกคนต่างลงความเห็นว่า เขาเปลี่ยนไปในทางที่น่าเป็นห่วง
หนังสือพิมพ์เดอะนิวยอร์กไทมส์ ได้ระบุถึงข้อความที่อดีต รัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ นางคอนโดลีซซา ไรซ์ กล่าว บรรยายถึงบุคลิกลักษณะของปูตินในบทวิเคราะห์ว่า เธอได้เห็น เขามาตั้งแต่ช่วงแรกๆ “จากคนที่ดูจะขี้อาย มาเป็นค่อนข้างขี้อาย จนกลายเป็นคนหยิ่งยโส และตอนนี้หลงอำานาจไปแล้ว”
อย่างไรก็ตาม มีคนจำานวนมากชื่นชมความกล้าท้าทายของ ผู้นำารัสเซียวัย 69 ปีผู้นี้ โดยมองว่า เขามีความแข็งแกร่งที่จะนำาพา รัสเซียไปสู่ความรุ่งเรืองได้ บรรดาผู้นำา เช่น อดีตประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ แห่งสหรัฐฯ อดีตรองนายกรัฐมนตรีแห่งอิตาลี นายมัตเตโอ ซัลวีนี และประธานาธิบดีโรดรีโก ดูแตร์เต แห่งฟิลิปปินส์ ก็ชื่นชมในความเป็นผู้นำาที่เด็ดขาดและตัดสินใจอย่าง ฉับไว รวมถึงประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ผู้นำาของจีน ก็มีทัศนคติที่ดีต่อ ปูติน
ดังนั้น ดูเหมือนว่าสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนจะไม่ จบลงในเร็วๆ นี้ แม้ว่าตัวเลขการสูญเสียยังคงเพิ่มขึ้น และนานา ประเทศจะร่วมกันต่อต้านและกดดันรัสเซียด้วยวิธีต่างๆ อย่างเข้ม ข้นก็ตาม เพราะเป้าหมายที่เขามุ่งมั่นอยู่นั้นสำาคัญกว่าความเสีย หายเหล่านี้หลายเท่านัก นั่นคือ การนำาความยิ่งใหญ่กลับสู่ประเทศ บ้านเกิดอันกว้างใหญ่ไพศาล ซึ่งมีโซนเวลามากที่สุดในโลกถึง 11 โซน ครอบคลุมกว่าครึ่งโลกไปแล้วนั่นเอง