
พันกว่าปีที่แล้วบนแผ่นดินจีนโบราณ หนึ่งในวิชา ที่ผู้สมัครสอบจอหงวนต้องผ่านด่านเพื่อจะเป็นสุดยอด ฝีมือเข้ารับราชการในราชสำนักก็คือ การคัดลายมือด้วย พู่กันจีน ศาสตร์และศิลป์ที่ได้รับการยกย่องเป็น 1 ใน 4 ศิลปะชั้นสูงของจีน อันได้แก่ ฉิน (กู่ฉิน 古琴 : การเล่น พิณ) ฉี (เหวยฉี 围棋: หมากล้อม) ซู (ซูฝ่า 书法 : การ เขียนพู่กันจีน) ฮว่า (ฮว่า 画: วาดภาพ) สุภาษิตจีนคำ ว่า 文房四宝 แปลว่า สี่สมบัติล้ำค่าในห้องหนังสือ นั่น ก็คือ 笔、墨、纸、砚 พู่กัน น้ำหมึก กระดาษ และ แท่นฝนหมึก สะท้อนความสำคัญของศาสตร์นี้ได้เป็นอย่างดี
ศิลปะการเขียนพู่กันจีนที่มีต้นกำเนิดยาวนาน มากว่า 3,000 ปี นอกจากจะเป็นการถ่ายทอดความคิด เรื่องราว และบันทึกประวัติศาสตร์แล้ว เบื้องหลังความงามที่ซ่อนอยู่ในตัวอักษรจากปลายพู่กันนั้นเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยฝีมือ ประสบการณ์ และการฝึกฝนจนเกิดความเชี่ยวชาญ เพื่อถ่ายทอดผลงานอันงดงามไม่ต่างกับงานศิลปะล้ำค่าชิ้นหนึ่ง

Art Mode ฉบับนี้เรามีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์ นิธิวุฒิ ศรีบุญชัยชูสกุล ผู้เชี่ยวชาญการเขียนพู่กันจีน และศิลปินลายสือศิลป์ยอดเยี่ยม 1 ใน 30 ของโลก โดยหนังสือพิมพ์ PEOPLE DAILY กรุงปักกิ่ง ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาตลอดกว่า 40 ปี นับจากวัน ที่เรียนการเขียนพู่กันจีนครั้งแรกจากอาจารย์เจียะลู้ ปรมาจารย์ชาวจีน ตั้งแต่อายุ 18 ปี หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าอักษรจีนที่พบเห็นตามวัดจีนในไทย ไม่ว่าจะเป็นวัดมังกรกมลาวาส วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ อักษรจีนบนภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดราชโอรส ราชวรวิหาร ศาลเจ้าซาไท้จื้อนาจา วัดกษิติครรภ์โพธิสัตว์ และศาสนสถานอีกหลายๆ แห่งทั่วประเทศ ล้วนเป็น ฝีมือการตวัดพู่กันของอาจารย์นิธิวุฒิทั้งสิ้น
อาจารย์เล่าว่าความงดงามของการเขียนอักษรด้วย พู่กันจีน แรกเริ่มคือการได้เรียนกับยอดฝีมือ เมื่อฝึกเขียน กับครูที่เก่งและลายมือสวย ก็ทำให้ฝึกเขียนลายเส้นได้ สวย นอกจากนี้น้ำหนักมือ น้ำหนักของหมึก จังหวะ การกดและยกพู่กันก็มีผลให้ตัวอักษรมีเส้นหนักเบาที่ ลงตัว ซึ่งในความงามที่ลงตัวนั้น แท้จริงแล้วตัวอักษร จีนมีสัดส่วนทองคำ (Golden Ratio) ซึ่งเป็นทฤษฎีทาง คณิตศาสตร์ที่ใช้วัดสัดส่วนที่สมดุลและสวยที่สุดของสิ่ง ต่างๆ นั่นเอง
ลายมือการคัดพู่กันที่ประณีตและสวยงามยังเป็น สิ่งที่ใช้วัดคุณสมบัติและความสามารถของผู้เขียนได้อีก ด้วย เช่น การสอบคัดเลือกเข้ารับราชการในราชสำนักจีน สมัยก่อน ซึ่งมีการสอบวิชาคัดลายมือ เพราะการเขียน ตัวอักษรจีนได้สวยงาม เป็นระเบียบ แสดงถึงจิตใจที่ได้ รับการขัดเกลา และมีสมาธิ เพราะหากใจร้อนหรือไม่มี ความอดทนก็ไม่สามารถเขียนพู่กันจีนให้สวยได้ กล่าวได้ ว่ายิ่งตัวอักษรสวยประณีตมากเท่าไหร่ จิตใจของผู้เขียน ก็ได้รับการยกระดับและขัดเกลามากขึ้นเท่านั้น
อ่านฉบับเต็มได้ที่ นิตยสารข้ามห้วงมหรรณพ ฉบับที่ 56 สมัครสมาชิก คลิ๊กที่นี่