
คอลัมน์ของฉบับนี้เรียกได้ว่าเลือกหัวข้อเขียนได้ลำบาก และ บอกได้เลยว่า ผู้เขียนได้รับผลกระทบจากความไม่แน่นอนทางการเมืองของไทยด้วย คือไม่ใช่ว่ามีหัวข้อให้เลือกเยอะจนเลือก ไม่ถูก แต่เพราะจนแล้วจนรอด ก็ไม่มีเรื่องน่าสนใจให้เขียนเท่าไหร่ เพราะยังไม่เห็นหน้าตาของรัฐบาลใหม่ในช่วงที่จะเขียนสักที
ขนาดการเลือกเรื่องที่จะเขียนคอลัมน์ยังโดนผลกระทบเพราะ ความล่าช้าในการจัดตั้งรัฐบาล แล้วการทำาธุรกิจ การลงทุนต่างๆ ก็ต้องช้ากว่าที่ควรจะเป็น เพราะถ้าตัดสินใจก่อนแล้วเกิดการ เปลี่ยนแปลงทางการเมืองและนโยบายก็จะทำาให้เกิดความ เสียเปรียบทางการลงทุน เช่น นโยบายการส่งเสริมสิทธิประโยชน์ ด้านภาษี หรือแม้แต่เรื่องนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ ก็มีผลต่อการ ตัดสินใจว่าแนวทางการลงทุนจะต้องเพิ่มหรือลดจำนวนคนและ เครื่องจักร
ในทางการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ จะมีดัชนี้ตัวหนึ่งที่ชื่อ ดัชนี้ชี้วัดความเสี่ยงทางการเมืองของแต่ละประเทศ (Geopolitical Risk Index) ซึ่งหากความเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น เช่น ความล่าช้า ในการจัดตั้งรัฐบาล นโยบายส่งเสริม/กีดกันทางการค้า หรือ เสถียรภาพของรัฐบาล ก็จะเป็นตัวแปรในการที่ทำาให้เงินทุนจาก ต่างประเทศเข้าตลาดน้อยลงด้วย
และถ้าเราใช้ตำาราเศรษฐศาสตร์มหภาค เรื่องการเติบโต ของเศรษฐกิจประเทศ หรือ GDP จะประกอบด้วยตัวแปร คือ C+I+G+(X-M) จะเห็นว่า 3 ตัวแปรแรกคือ การบริโภค การลงทุนของเอกชน การใช้จ่ายของรัฐบาลนั้นดูเหมือนจะ ฝ่ายวิจัยของโบรกเกอร์ต่างๆ ประเมินไว้ ที่เลข 28-30 ล้านคน ซึ่งครึ่งปีหลังนั้น ตัวเลขมากกว่าครึ่งปีแรกแน่นอน ถ้าไม่มี โรคระบาดใหม่ๆ เข้ามา และจะเป็นการ พยุงเศรษฐกิจไทย เพื่อรอการดำเนิน นโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ ติดปัญหาทั้งสิ้น เพราะหากไม่มีการลงทุนจากเอกชนหรือ การใช้จ่ายของรัฐบาลที่หยุดไปตั้งแต่ก่อนเลือกตั้ง ก็จะทำให้ คนไม่มีรายได้ หรือไม่มั่นใจในรายได้ และจะไม่กล้าใช้จ่าย ดังนั้นสามตัวแปรแรกนี้ก็ต้องรอการจัดตั้งรัฐบาลและการ ดำเนินนโยบายอย่างเดียว (ซึ่งถึงตอนนี้ ผู้อ่านน่าจะเห็น หน้าตาของรัฐบาลใหม่แล้ว และเป็นช่วงเวลาที่เตรียมแผน งบประมาณไม่ทัน อาจจะต้องใช้แผนเก่าไปก่อนด้วยซ้ำ
ดังนั้น เราจะเหลือแค่การรับรายได้จากการส่งออกและ การท่องเที่ยวที่ไม่ได้อิงกับเรื่องของรัฐบาลชุดใหม่เท่าไหร่นัก และเป็นจุดเด่นของเศรษฐกิจไทยมาตลอด ซึ่งการส่งออก สินค้าเกษตรของปีนี้ต่อไปยังปีหน้านั้น เราจะเจอกับภาวะ เอลนีโญ ที่ทำให้น้ำแล้งและขาดแคลนผลผลิต เมื่อเทียบกับ ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา อีกทั้งการฟื้นตัวของสินค้าอุตสาหกรรม อย่างรถยนต์และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ฟื้นตัวแบบล่าช้า ทำาให้ภาพของการส่งออกทำได้แค่การประคองตัวเท่านั้น
สิ่งที่จับต้องได้จริงๆ สำหรับประเทศไทยในครึ่งปีหลัง จะเหลือแค่การท่องเที่ยว ที่เริ่มเห็นการเร่งตัวขึ้นมาในเดือน พฤษภาคม โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวจีน หลังจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก้ปัญหาคอขวดเกี่ยวกับเรื่องการจัดการวีซ่าและจำนวน เที่ยวบิน ก็เห็นเลขส่วนนี้ขึ้นมาอย่างเห็นได้ชัด โดยทาง ภาครัฐคาดหวังตัวเลขนักท่องเที่ยวทั้งปีที่ 25 ล้านคน แต่ ถ้าเป็นทางฝ่ายวิจัยของโบรกเกอร์ต่างๆ ประเมินไว้ที่เลข 28-30 ล้านคน ซึ่งครึ่งปีหลังนั้นตัวเลขมากกว่าครึ่งปีแรก แน่นอน ถ้าไม่มีโรคระบาดใหม่ๆ เข้ามา และจะเป็นการ พยุงเศรษฐกิจไทย เพื่อรอการดำเนินนโยบายของรัฐบาล ชุดใหม่ครับ
ครับ…ทางผู้เขียนก็ขอให้เป็นเช่นนั้นเช่นกัน