ความมั่นใจของคนนั้นสำคัญแค่ไหน
ก็สำคัญถึงขนาดต้องมีการจัดทำดัชนีชี้วัดความมั่นใจของการบริโภคและดัชนีชี้วัดความมั่นใจของการลงทุนภาคเอกชน หรือเทียบให้ง่ายคือ สมมติเรามีเงินในกระเป๋า 100 บาท เท่ากันในวันนี้ ถ้าเรามั่นใจว่าอีก 3 เดือนข้างหน้ายังมีงานทำ ยังมีโอกาสได้เงินได้กำไร มากขึ้น เราก็ใช้จ่าย 100 บาทที่เรามีได้อย่างสบายใจ อาจจะเหลือเก็บออมน้อยหน่อย หรือถ้าเป็นบริษัทก็จะกล้ากู้เงินมาลงทุนเพิ่ม เพราะมั่นใจว่ารายได้ที่จะได้ในอนาคต เพียงพอต่อการใช้หนี้ ใช้ดอกเบี้ยแน่ๆ
แต่ถ้าเรามองว่ามีความเสี่ยงต่อการที่ยอดขายจะลด หรือมีการปลดคน เราก็จะกำเงิน 100 บาทแน่น ไม่ซื้อของฟุ่มเฟือย กินอยู่ให้ต่ำกว่าปรกติ เมื่อหลายๆคน หลายๆบริษัท คิดแบบนี้ วงจรเศรษฐกิจรวมก็จะหยุดชะงัก เหมือนในช่วงหลังเลือกตั้งสามเดือนก่อนจะได้รัฐบาล
สิ่งที่ใกล้ตัวที่สุดของคนคือปัจจัย 4 และปัจจัย 4 คือเรื่องของความมั่นคงพื้นฐานในชีวิต มนุษย์ โดยเฉพาะเรื่องปากท้อง เรื่องอาหารการกินทั้งของเราเองและของคนที่เราต้องดูแล การมี “ความมั่นใจ” ในชีวิตว่า หลังจากนี้เรา “ยังจะ” มีงานทำ มีรายได้ มีความปลอดภัย ในชีวิตนั้น ก็จะส่งผลให้ปัญหาในสังคมโดยรวมน้อยลง
ฉบับนี้ผู้เขียนเขียนช้า ส่งต้นฉบับช้า ใช้วิชาดึงเวลา แกล้งเงียบ รอความแน่นอนทางการเมือง รอรัฐบาล วันก่อนส่งงานกองบ.ก.เขียนมาตามงาน แถมช่วยเสนอ ไอเดียด้วย บอกว่าเขียนในสิ่งที่ใกล้ตัว สิ่งที่กระทบกับชีวิต ประจำวัน ในใจผู้เขียนก็คิดว่า นี่ไง ตั้งรัฐบาลช้ามา 3 เดือน กระทบต่อการส่งต้นฉบับ กระทบใกล้ๆตัวเลยก็ว่าได้ ไม่รู้ จะเขียนคอลัมน์ทิศทางไหนดี (ฮา)
เขียนเสร็จได้ประกาศนายกฯคนที่ 30 พอดี ถ้าจากวัน ที่ส่งต้นฉบับจนถึงตีพิมพ์ไม่มีอุบัติเหตุทางการเมือง จากนี้ไป ภาคการลงทุนและการบริโภคก็จะเริ่มมั่นใจต่อการใช้จ่าย ขยายกิจการและลงทุนมากขึ้น แล้วจะไปต่อยอดด้วยการ ใช้จ่ายจากงบประมาณของรัฐบาลใหม่ที่จะเริ่มได้ประมาณ เดือนมีนาคม 2567 โดยสิ่งที่ประชาชนต้องเห็นหลังจากการดำเนินนโยบายของรัฐบาลใหม่คือ “ควรจะมีพัฒนาการกว่า ตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 2”
พูดง่ายๆคือ การใช้จ่ายภาคเอกชนยังคงแรงดีอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลาง-สูง และเพิ่มการใช้จ่าย ของผู้มีรายได้น้อย โดยภาครัฐอาจช่วยเหลือผ่านการ “ลด ภาระหนี้และดอกเบี้ย” ของหนี้ครัวเรือนและหนี้เกษตรกร ที่จ่ายอยู่
ข้อต่อไปคือ แม้ว่าการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐ จะติดเงื่อนไขด้านเวลา แต่สามารถให้เอกชนช่วยก่อนได้ ด้วยการให้ความมั่นใจเรื่องแผนและนโยบายการพัฒนา รวมถึงสิทธิพิเศษทางภาษีในบางธุรกิจ และสิ่งสุดท้ายที่ ควรมีคือ รัฐบาลเน้นการเพิ่มการส่งออกที่หดตัวลง และ คงความคึกคักของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้มีการใช้จ่าย ต่อหัวเพิ่มเติม ผ่านการหาตลาดทดแทนนักท่องเที่ยวจีน ที่หายไปจำนวนมาก อันเป็นช่วงไฮซีซัน (High Season) พอดี ทั้ง 3 ข้อนี้เป็น “เครื่องยนต์หลัก” ในการเพิ่มความ มั่นใจของทุกฝ่ายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจทั้งสิ้น
อ่านฉบับเต็มได้ที่ นิตยสารข้ามห้วงมหรรณพ ฉบับที่ 53 สมัครสมาชิก คลิ๊กที่นี่