
อาจารย์อัจฉราวดี วงศ์สกล
เสียงเปียโนอันอ่อนหวานพลิ้วแผ่วดังก้องไปทั่วห้องโถง เป็นเสียงที่จำต้องฟังเพราะหนีไปไหนไม่ได้ เสียงเพลงนั้น อบอวลไปด้วยท่วงทำนองของความรักปนความเศร้า ยิ่งบรรเลง อยู่ในห้องปิดที่มีเสียงก้องด้วยแล้ว ก็ราวกับว่าเสียงเพลงนั้น ได้สะท้อนตีกลับเข้ามากระทบจิตแบบไม่ยั้ง โน้ตแล้วโน้ตเล่า พรั่งพรูออกมาเหมือนน้ำฝนที่ตกพรำไม่ขาดสาย หากผู้ฟัง เพิ่งอกหักมา มีหวังได้นั่งทรุดลงกลางห้อง เพื่อประคองใจ อันปวดร้าวที่ถูกตอกย้ำซ้ำด้วยโน้ตเพียง 7 ตัว
ขณะที่อาจารย์กำลังต้องอยู่ในสนามพลังงานที่เต็มไปด้วย มนตร์ขลัง แม้ยืนอยู่ในห้องโถงที่อบอุ่นสงบนิ่ง แต่จิตนั้นเหมือน กำลังอยู่ท่ามกลางพายุอารมณ์ จิตดิ่งลงไปสู่พลังของความ โศกเศร้าจากการผิดหวังในความรัก ความไม่สมหวัง ความ พลัดพราก ความร้าวรานใจ เสียงเพลงจากเปียโนทำหน้าที่ ราวกับใบมีดเล็กๆ ที่ค่อยๆ บรรจงกรีดหัวใจ จนต้องหยุดนิ่งๆ แล้วปล่อยให้จิตเขารับรู้อารมณ์ที่มีเสียงเปียโนเป็นสะพาน เกิด เป็นความรู้สึกถูกบีบคั้นแต่ไม่แน่นหนา รู้สึกถึงใจที่มีบาดแผล แต่ไม่ใช่แผลสด สัมผัสถึงความอยากทรุดลงแต่กายตนตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว สัมผัสถึงความช้ำาชอกแต่จิตยังตั้งมั่นอยู่ดังเดิม
จิตที่พ้นจากอารมณ์แบบโลกๆ เป็นจิตที่ไม่มีเบื้องลึก ไม่มี เบื้องหลัง แต่เมื่อจำต้องเข้าไปสู่คลื่นเช่นนี้ อารมณ์ในรูปแบบ ใดๆ ที่เข้ามากระทบจิตก็จะเป็นเหมือนรอยน้ำาที่ขีดบนผืนน้ำาหรือ สังขารบนผืนน้ำาที่ปรากฏเพียงครู่เดียว แล้วอารมณ์นี้ก็หายไป ทำาให้สัมผัสสภาวะความเจ็บแบบเบาบาง แต่ไม่ได้รู้สึกเจ็บด้วย
แล้วความรู้สึกที่กำลังสัมผัสอยู่นี้เป็นของใคร
…เป็นของอารมณ์ของโลกนั่นเอง
เป็นอารมณ์ของคนมากมายมหาศาลในโลกที่อยู่ในสนาม พลังงานเดียวกัน เป็นคลื่นอารมณ์ของผู้ที่ยังปรารถนาความรัก แบบโลก และถูกความรักผลักไส หรือแสดงสภาพที่แท้จริงของ สิ่งที่เรียกว่า “ความรัก” ตามกฎแห่งไตรลักษณ์
ที่ใดมีรัก ที่นั่นมีทุกข์…พระบรมศาสดาทรงสอนไว้
เมื่อยังอยู่ในสนามพลังงานเดียวกัน ก็ย่อมสัมผัสทุกข์นั้นอยู่ เพียงแต่ความทุกข์นั้นหยั่งรากลงไม่ได้อีก แค่รู้ แค่เข้าใจ และ เห็นใจผู้ที่ยังหลงเพลิน หลงปรารถนา จนไม่เห็นความทุกข์ ที่จะก่อตัวตามมาหลังจากที่ “ได้มีรัก”
เครื่องดนตรีบางประเภทนั้นมีพลังกดดันอารมณ์นักหนา เราจึงเห็นนักเปียโนผู้เก่งกาจ เวลาที่เขาถ่ายทอดอารมณ์ออกมา เป็นท่วงทำนองเพลงที่ไพเราะจับใจ กายของเขาจะค่อยๆ ค้อม ลงไปเรื่อยๆ เพราะถูกกดด้วยอารมณ์ต่างๆ ที่พรั่งพรูมา โดยมี เสียงเพลงที่เขาบรรเลงเองเป็นสะพาน อารมณ์ต่างๆ นั้นอาจ ไม่ใช่ของเขาเอง หากแต่เป็นความรู้สึกของจิตวิญญาณมากมาย ในอีกมิติ ที่ซ้อนอยู่ในชั้นบรรยากาศ ที่เชื่อมเข้ามาผ่านคลื่นเสียง จนทำให้กายของนักดนตรีนั้นสั่นเทิ้มในแบบของศิลปินผู้ดื่มด่ำ ศิลปะ แต่ที่จริงคือการเปิดสะพานเชื่อมทางอารมณ์ โดยศิลปิน นั้นไม่ฝืน แต่พร้อมเปิดใจรับกระแสอารมณ์นั้นอย่างเต็มที่
สำาหรับทางธรรม นี่คือสภาวะการเปิดอายตนะ คือเปิดจิต ให้รับอารมณ์ต่างๆ ให้พรั่งพรูเข้ามาสู่กระแสจิต
กี่ภพกี่ชาติแล้วที่เราติดอยู่ในกระแสอารมณ์อันแข็งแกร่ง จนพาจิตให้เป็นอิสระจากคลื่นแรงโน้มถ่วงและสนามแม่เหล็ก ไปไม่ได้ เพราะมนุษย์ยินดีในการเติมเต็มอารมณ์ ยินดีกับการ เปิดอายตนะ คือ เปิดประตูจิตผ่านประตูตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ กระแสกิเลสใดที่ผ่านเข้ามาก็เปิดรับแบบเต็มพิกัด ไม่ให้หยุดอยู่แค่ที่ระดับของการรับรู้ความรู้สึก หรือให้เป็นเพียง สังขารที่ขีดบนผืนน้ำ ที่รู้สึกแล้วแม้ตั้งอยู่สักพักก็ผ่านไป ไม่ไป ติดใจหรือติดค้างใจ ให้อยู่ในระดับรับรู้ความรู้สึกชั่วครู่แล้วหายไป
การปล่อยจิตเช่นนี้ย่อมเป็นการเปิดประตูจิตชั้นในให้ ข้าศึกคือกิเลสโจมตี การปิดกั้นประตูหรือการกั้นจิตไม่ให้หลง เพลิดเพลิน จะทำให้ใจไม่ถูกโถมทับไปด้วยความรู้สึกที่ฉาบไว้ ด้วยความสุขในพื้นผิว แต่ปกปิดความทุกข์ที่ตามมาไว้เบื้องล่าง
การเป็นนักปฏิบัติธรรมไม่ได้ทำให้กลายเป็นผู้ไร้ความรู้สึก หรือแสดงออกทางความรู้สึกไม่ได้ หากปฏิบัติธรรมแล้วกลาย เป็นหุ่นยนต์ ไร้ความรู้สึกชอบ ชัง แล้วจะเอาอะไรไปรู้จักโลก จะเข้าใจโลกหรือเข้าใจคนอื่นๆ ได้อย่างไร ความต่างของ การเป็นผู้ปฏิบัติธรรมคือ เมื่อมีอารมณ์ใดๆ เกิดขึ้นมา ให้ฝึก วางจิตให้ “ถอนความพอใจและไม่พอใจออกจากจิต” ซึ่งคือ การถอนความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ คำาบาลีคือ วิเนยยะโลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง อันเป็นหลักสติปัฏฐานที่ไม่ใช่ไปกดข่ม ให้เป็นคนไม่มีอารมณ์ความรู้สึก
หากเสียงดนตรีใดเป็นไปเพื่อการสรรเสริญ เพื่อการ หล่อหลอมจิตใจให้มั่นในความดี เพื่อเป็นอุบายในการเรียนรู้ ยังจิตให้อ่อนโยน เพื่อความตื่น ย่อมไม่เกิดพิษภัย ย่อมฟังได้ หรือมีส่วนร่วมได้เป็นคราๆ ไป แม้หลงเพลินไปสักครู่ย่อมถอนใจ ออกได้ง่าย ดั่งสังขารบนผิวน้ำ แต่หากดนตรีเป็นไปเพื่อการ ถ่ายทอดความหลงเพลิน เศร้าโศก ความโหยหาอาลัยอาวรณ์ ผู้มีส่วนร่วมก็มีสภาพไม่ต่างอะไรกับการผ่อนโซ่ที่มัดตนอย่าง แน่นหนาให้คลายตัวลงชั่วขณะหนึ่ง แล้วโซ่นั้นก็กระชับเข้ามัด ร่างดังเดิม แต่ในแบบที่กระชับแน่นยิ่งกว่าเดิม ชีวิตที่ตั้งอยู่บน เงื่อนไขของเลข 7 โน้ต 7 ตัว วงจรชีวิต 7 วัน เมื่อวงจรแห่ง เลข 7 ถูกกำหนดขึ้นมาด้วยการทำซ้ำๆๆ เช่นนี้
การบรรลุธรรมก็เกิดขึ้นได้ด้วยเงื่อนไขเดียวกัน แต่ต้อง พลิกมุมโลก โดยการฝึกจิตให้ทวนกระแสนั้นให้ได้ ดั่งที่ พระบรมศาสดาตรัสว่า หากบุคคลเพียรทำให้มาก ภายใน 7 วัน 7 เดือน หรือ 7 ปี ย่อมบรรลุธรรมได้
ขึ้นชื่อว่ากระแสพลังงานที่มีทั้งหยาบและละเอียด ไม่ว่าจะมี สิ่งใดเกิดขึ้นในมิติหนึ่ง ย่อมมีผลไปสู่อีกมิติหนึ่ง เช่นเดียวกับเมื่อ มีการบรรเลงดนตรี จิตวิญญาณอีกมิติก็ฟังด้วยได้ ดังนั้นการ สวดมนต์อย่างออกเสียง จิตวิญญาณในขอบเขตใกล้เคียงก็ฟัง ด้วยได้เช่นกัน และหากการสวดนั้นสวดด้วยความตระหนักรู้ ในความหมาย สวดเพื่อสรรเสริญการรับฟังของผู้ที่อยู่ในมิติอื่น ก็ย่อมสัมผัสถึงกระแสที่เป็นกุศล และเกิดเป็นกุศลทั้งแก่ผู้สวด และผู้ฟัง
สิ่งใดที่มองเห็นไม่ได้ อย่าหมิ่นคิดว่าไม่มี โลกนี้คือกระแส พลังงาน แม้แต่เสียงเพลงจากโน้ต 7 ตัวก็คือคลื่นเสียง เป็นคลื่น พลังงานที่ทรงอานุภาพกระชากใจได้นักหนา เมื่อยังต้องอยู่ใน เวทีของวัฏสงสาร ต้องอยู่ให้เป็น อยู่แบบไม่ต้านโลก แต่ทวน กระแสโลกด้วยกำลังจิตที่ฝึกไว้ดีแล้ว