Skip to content Skip to footer

กรอบแห่งอิสรภาพ

กรอบแห่งอิสรภาพ

ของ พลเอก นายแพทย์บุญเลิศ จันทราภาส

อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

ผู้เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมสมองและระบบประสาท

หากกล่าวถึงอาชีพแพทย์แล้ว ดูเหมือนเป็นอาชีพที่จริงจัง เคร่งเครียด ตลอดจนได้รับความ กดดันสูง โดยเฉพาะยิ่งเป็นแพทย์ที่มีภาระหน้าที่ในการบริหารตั้งแต่อายุยังน้อย ดังบทบาท ชีวิตของนายแพทย์บุญเลิศ จันทราภาส ผู้ได้รับโอกาสจากการทำงานที่เรียกได้ว่าก้าวกระโดด

ชีวิตในกรอบของคุณหมอ แม้จะดูเหมือนกดดันเพราะถูกจับตามองตลอด เนื่องจากเป็นคนเก่ง ก้าวหน้าไว แต่คุณหมอกลับไม่รู้สึกเช่นนั้น และยังเปลี่ยนแรงจ้องจับผิดจากคนอื่นมาจับผิดตัวเอง เปลี่ยนแรงกระแทกและสิ่งที่เจอให้เป็นบันไดในการพัฒนาจิตจนเข้าใจตัวเอง เข้าใจโลก และผู้อื่นได้ ในที่สุด

ทราบมาว่า คุณหมอยังแอคทีฟอยู่มาก แม้ว่าปีนี้จะอายุ 71 ปีแล้ว พื้นฐานเป็นเด็กสาย กิจกรรมหรือแนวจิตอาสาหรือคะ

คือผมเนี่ยทำงานมาหลายด้านและหลายพื้นที่ เดิมทีเป็นนักเรียนทหารเรือเพราะชอบทหารเรือมาก คุณอาเป็นทหาร ตอนสมัครก็เป็นทหารเรือ แต่ตอนหลังทำเรื่องขอย้ายเหล่า เพราะตอนนั้นมีแต่ ทหารบกกับทหารอากาศที่สมัครได้ แล้วบังเอิญเรียนดี ก็เลยได้รับคัดเลือกได้รับทุนเรียน ส่วนตัวไม่ได้ สนใจการแพทย์ แต่เราคิดว่าเป็นทั้งแพทย์ด้วยก็ดี เพราะญาติพี่น้องจะได้พึ่งพาได้

สมัยที่เรียนผมแทบไม่มีเวลาทำอะไร นอกจากอยู่ในห้องผ่าตัด อาจารย์หมอเห็นเราผ่าตัดออกมาดี ก็ให้เราช่วยดูแลห้องผ่าตัดเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ โชคดีที่เราเล่นกีฬามาก่อนตั้งแต่เด็ก ร่างกายก็จะแข็ง แรง อดทน ทำงานนานๆได้ พอจบก็ไปทำงานที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ได้มีโอกาสทำงานกับผู้ หลักผู้ใหญ่เยอะ ภายหลังได้มีโอกาสตามเสด็จเจ้านายลงพื้นที่หลายปีในฐานะแพทย์ผ่าตัดสมอง และ เพราะได้เห็นพระองค์ท่านทำงานเยอะมากกันทุกพระองค์ ตอนนั้นก็รู้สึกเป็นแรงบันดาลใจและอยากช่วย ได้มากกว่านี้บ้าง

ทีนี้พอเราเริ่มเติบโตทางด้านการงาน มีตำแหน่งสูงขึ้น ก็ เริ่มมาคิดว่า เออ เราน่าจะทำอะไรๆได้อีกมากนะ

เพราะอะไรถึงสนใจมาทำาศัลยกรรมด้านสมองคะ

เดิมทีผมสนใจศัลยกรรมประสาทนะ เพราะคิดว่าได้ ช่วยเหลือคนไข้หลากหลายมากขึ้น เพราะเกือบทุกโรคก่อน ที่จะไปต่อ ต้องส่งให้ผ่าตัดศัลยกรรมก่อนจะส่งไปแผนกอื่น ไม่ว่าจะเป็นสมอง ระบบทางเดินต่างๆ แต่บังเอิญมีความ ขาดแคลนทางด้านผ่าตัดสมอง รุ่นพี่ถามว่าสนใจมั้ย ตอนนั้น ไม่ได้คิดอะไรมาก เลยไป ผมไปฝึกที่โรงพยาบาลประสาท ซึ่งอยู่ใกล้ๆกัน มีคนไข้ทางสมองที่มาจากต่างจังหวัดเยอะมาก ส่วนใหญ่คนป่วยจะเป็นโรคเกี่ยวกับเนื้องอก

ตอนนั้นผมไปทำงาน 2 โรงพยาบาลเลย ตอนกลางคืน ก็ไปเข้าเวรที่ รพ.พระมงกุฎฯ แผนกอุบัติเหตุ เลยได้เรียนรู้ ทั้ง 2 ทาง การได้รับมอบหมายให้อยู่ประจำห้องผ่าตัดสมัย อยู่ปี 3 ตอนนั้นเลยกลายเป็นการช่วยให้ประสบการณ์ในการ ผ่าตัดของเราสูงมาก หน้าที่หลักผมคือผ่าตัดสมอง กระดูกคอ และไขสันหลัง

การลงพื้นที่แตกต่างจากการทำงานที่โรงพยาบาลขนาดไหน ถึงทำให้คุณหมอเริ่มสนใจงานการกุศลมากขึ้น

คือในช่วงแรกนี่ การเป็นแพทย์ประจำบ้านหลังเรียนจบ เกิดจากที่ตอนนั้นมีเรื่องที่ชายแดนแถวอรัญประเทศ สมัยอยู่ รพ.พระมงกุฎฯ ไม่มีหมอที่ชายแดน ต้องใช้หมอจาก รพ.ไปอยู่ หมุนเวียนเดือนละหนึ่งคนทุกเดือน ช่วงที่ผมไป ตอนนั้นท่าน พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก สมัยนั้นเป็นพลตรี มีปัญหากระดูก คอเสื่อม ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ผมก็ตรวจพบและได้ทำการ ผ่าตัดให้ท่าน หลังจากนั้นท่านก็ขอให้ผมอยู่ประจำการที่นั่นต่อ หลังจากนั้นทั้งปีผมก็อยู่ชายแดน พื้นที่แถวอรัญประเทศ วัฒนานคร ไปจนถึงสระแก้ว ผมจะกลายเป็นตัวหลักเรื่อง การผ่าตัดสมอง ทำให้ผมมีโอกาสช่วยคนเยอะมาก แต่ละเคส ที่มาโหดๆและรุนแรง ทั้งถูกทุบตี ถูกปล้นทำร้ายร่างกาย พร้อมๆกันนั้น เวลาตามขบวนเจ้าหน้าที่หรือตามเสด็จฯ ได้เห็นคนลำบากเยอะ ความมีจิตอาสาก็เลยเริ่มเข้ามาเรื่อยๆ เพราะเห็นตรงนั้นตลอด

เพราะเหตุนี้ด้วยหรือไม่ คุณหมอถึงฝึกวิปัสสนา กรรมฐาน เพราะได้เห็นความทุกข์ตลอดเวลา

อันที่จริงชีวิตผมก่อนหน้ามีแต่สวดมนต์นะ ไม่ได้ปฏิบัติเลย แต่อย่างที่บอก พอเรามีตำแหน่งสูงขึ้น รู้จักคนเยอะขึ้น ก็เลย คิดว่าตอนนี้เราอยู่ในจุดที่ทำได้แล้ว อยู่มาวันหนึ่ง ขณะแปรงฟันอยู่ตอนเช้า ในช่วงนั้นผมเป็นผู้อำนวยการกองอุบัติเหตุ ก็คิดว่าเราน่าจะทำอะไรให้เป็นประโยชน์บ้าง ก็มีแนวคิดจะทำ โครงการอภิบาลสงฆ์ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา พระสงฆ์มีโอกาสเข้าถึงการรักษาเต็มๆแบบคนธรรมดาน้อย และช่องทางเดียวของท่านคือ รพ.สงฆ์ เพราะมา รพ.ทั่วไปจะลำบาก ต้องเบียดเสียดกับชาวบ้าน โครงการจะเหมือนโรงพยาบาลเคลื่อนที่ มีรถเอกซเรย์เคลื่อนที่ รถผ่าตัดเคลื่อนที่มีการตรวจเลือด ตรวจหัวใจ มีหมอเฉพาะทางด้วย เช่น หมอตา หมอ กระดูก ไปตรวจพระทั้งวัดเลย

สิ่งที่เกิดขึ้นคือ พอทำไปเรื่อยๆก็มีคนศรัทธามาร่วม บริจาค นำอาหารมาให้ ทั้งค่ายา เราไปทุกที่เราไม่ได้ใช้ เงินรัฐเลย เป็นเงินบริจาคหมด คนที่ไปก็ได้เบี้ยเลี้ยง ได้อาหารฟรี สิ่งหนึ่งที่คนชอบมากที่สุดคืออะไรรู้มั้ย (เงียบ) พวกพระต่างๆ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ไงล่ะ (หัวเราะ) พระท่านจะนำมามอบให้ตลอด พระพุทธรูปองค์ใหญ่ๆ พวกเหรียญ ก็มีคนติดอกติดใจอยากไปกัน เป็นทริปที่ดี สนุกสนานกันไป

โครงการนี้ได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่มาตลอด ซึ่งโครงการนี้แหละ นำพาผมให้ได้มีโอกาสไปดูแลพระวัด เทพศิรินทร์ทั้งวัดเลย ตลอดจนถึงช่วงหลังเกษียณ สุดท้าย ท่านก็มอบหมายให้ผมไปช่วยอำนวยการบวชพระที่อินเดีย 5 รุ่น รุ่นละ 130 รูป ชุดละประมาณเกือบ 2 สัปดาห์เวลาผมไปอินเดีย ซึ่งผมก็ยังช่วยตรงนี้จนถึงทุกวันนี้

ส่วนอีกโครงการที่ผมได้มีโอกาสทำ คือ โครงการปฏิบัติธรรมของนักศึกษาแพทย์ มีบรรพชาอุปสมบทหมู่ที่วัดบวรนิเวศด้วย โครงการนี้เริ่มตอนผมเป็น ผอ.วิทยาลัยแพทยศาสตร์ พระมงกุฎเกล้า แต่มีอาจารย์คนอื่นที่สนับสนุนเรื่องนี้ด้วยนะ โครงการนี้ยังมีอยู่ถึงปัจจุบัน มีคนสานต่อ

ดังนั้น ถ้าถามว่าการปฏิบัติธรรมของผมเริ่มเมื่อไหร่ ต้อง บอกว่าหลังเกษียณ ครั้งแรกนั่งได้ 5 นาที โอดโอยจะตายเอา (หัวเราะ) มันนั่งไม่ได้เลย เมื่อยไปหมด อยากเลิก (หัวเราะ) หลังๆค่อยเริ่มมีความอดทนขึ้นมาหน่อย

ศัลยกรรมสมองและระบบประสาทจัดว่าเป็นสาขาที่ยาก และซับซ้อนที่สุดในบรรดาการผ่าตัดทั้งหมด มือต้องนิ่ง และสมาธิต้องสูงมาก ตรงนี้มีส่วนช่วยคุณหมอตอนนั่ง หรือไม่คะ

การทำงานด้านผ่าตัดสมองนี่นะ เป็นงานที่ทำในพื้นที่ แคบและจำกัด และต้องทำงานด้วยความรวดเร็ว เพราะเวลา เป็นนาที ครึ่งชั่วโมง ถ้าเราทำเร็ว โอกาสที่จะรอดชีวิตก็จะสูง ดังนั้นเวลาผ่าตัดทำอะไร ต้องใช้สติจดจ่อ เหมือนที่ครู บาอาจารย์สอนว่า เวลานั่งต้องมีเพ่งจิตจดจ่อ ผมเองเวลา ผ่าตัดก็จะจดจ่ออยู่ที่จุดผ่าตัด สายตาไปไหนไม่ได้เลย เวลา ผ่าตัดจะคลุมคนไข้ไว้และเว้นช่องตรงส่วนที่ต้องผ่าตัด ดังนั้น หมอก็จะต้องโฟกัสแต่พื้นที่แคบๆนั้นอย่างเดียว

จิตจะสนใจแต่ตรงนั้น โดยเฉพาะสมองเลือดจะออกมาก เราต้องทำงานแข่งกับเวลา จี้จุดที่เลือดออกปุ๊บๆ ตรงนั้น ตรงนี้ให้เร็วที่สุด เราต้องมีสติอย่างมากถ้าต้องทำให้เร็ว พอ เราผ่าตัดมากๆเข้าก็จะกลายเป็นคนที่ผ่าตัดเร็วมาก บางท่าน ใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง แต่ผมใช้เวลาเพียง 1 ชั่วโมง หรือชั่วโมง ครึ่ง อายุที่น้อยและเล่นกีฬาแต่เด็กก็ช่วยทำให้เราทำอะไร รวดเร็ว เพราะมีประสาทสัมผัสเร็ว แต่สิ่งที่ได้มาและสำคัญ ที่สุดคือ มันได้ฝึกให้เราพัฒนาสติจนเป็นมหาสติ

ขอย้อนกลับไปนิดนึง ตรงโครงการปฏิบัติธรรมของนักศึกษาแพทย์ เพราะอะไรถึงริเริ่มโครงการนี้ขึ้นมา

ผมมองเห็นว่า บางทีความคิดทัศนคติอะไรของเด็กพวกนี้ ไม่ค่อยได้ (เรื่อง) ยิ่งมีแต่ผู้ชาย ก็เลยส่งไปปฏิบัติธรรมกับ คุณแม่สิริ กรินชัย ก็ดี ทำให้พฤติกรรมหลายอย่างดีขึ้น ผมเคยพูดกับพรรคพวกว่า เสียดาย เราไม่ได้โชคดีมีโอกาสปฏิบัติ ธรรมตั้งแต่อายุ 30 ปีกว่า ไม่งั้นผมคงได้ใช้หลักธรรมมาใช้ ประโยชน์กับที่ทำงานได้มากกว่านี้ คุณรู้มั้ย ผมได้รับการ แต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลตั้งแต่อายุ 48 ปี ซึ่ง ปกติคนอายุเท่านี้เป็นระดับผู้อำนวยการกอง หรือไม่ก็ ผอ. โรงพยาบาลในจังหวัด เราต้องปกครองทั้งอาจารย์หมอด้วย และที่จบอเมริกันบอร์ดด้วย

ถามว่าเกิดอะไรขึ้นในช่วง 12 ปี คำตอบคือ ความเหนื่อยที่เหนื่อยมาก เราต้องทำความดีตลอด หลุดไม่ได้เลย เพราะคนจับตามองเยอะมาก ทั้งต่อหน้าลับหลัง ผมเป็นคนที่ ถูกบัตรสนเท่ห์มากที่สุด ถูกฟ้องมากที่สุด แล้วสิ่งที่เกิดขึ้น คือ หมอดีขนาดนี้ยังโดนเหรอ โชคดีว่าผมผ่านมาได้ตลอด เพราะเวลาทำอะไรผมจะสุขุมรอบคอบเวลาทำงาน ความ ผิดพลาดเวลาทำงานนั้นเกิดจากการขาดความรอบคอบ คนที่คอยจับผิดผมนี่เยอะ เป็นตาสับปะรดเลย ทำให้ผม ต้องพยายามทำดีเพิ่มขึ้น อยู่เฉยๆไปวันๆไม่ได้ มันเป็น กรอบที่ตีเราให้ตื่นตัวอยู่เสมอ

สิ่งที่คุณหมอเห็นว่าธรรมะจะช่วยได้มากในการทำงานตรงนั้นคืออะไรบ้างคะ

ความเมตตาให้หมอ พยาบาล กับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล มีความเมตตามากขึ้น พอผมได้มาฝึกวิปัสสนา รู้เลยว่าพอ คนเรามีความเมตตามากขึ้น ก็จะอยากช่วยเหลือคนมากขึ้น แล้วถ้าหมอ พยาบาล และเจ้าหน้าที่มีความตั้งใจอยากช่วย คนจริงๆนะ เห็นคนไข้เข้ามาจะยิ้มเลย เพราะรู้ว่าจะได้มี โอกาสช่วยคน ต่อให้ถูกปลุกตีหนึ่งตีสองก็จะไม่โกรธ ไม่หงุดหงิด

แต่ปัจจุบันนี้มันตรงกันข้าม เพราะจิตใจมันเข้าไม่ถึง ก็จะ คอยคิดถึงสิ่งที่จะได้ ไม่ได้ว่าทำแบบนี้แล้วได้อะไร เสียอะไร ที่ มันแย่คือ หมอยุคนี้ชอบถามว่า เกิดประโยชน์กับเราหรือเปล่า เมื่อเร็วๆนี้ ผมได้มีโอกาสไปโรงเรียนทอสี ซึ่งเป็นโรงเรียนวิถีพุทธที่มีกระบวนการเรียนรู้โดยการถามตนเองว่า เรียนอะไร เรียนไปเพื่ออะไร เรียนแล้วทำอะไรให้ผู้อื่นและสังคมได้บ้าง ตรงนั้นจริงๆ ควรเป็นคำถามของการเริ่มทำอะไรสักอย่างในชีวิต ทั้งเรื่องเรียน การงาน

การตัดสินทุกอย่างพอมีเมตตามากขึ้น มองย้อนไปตัวผม เองก็ยังคิดโครงการได้อีกหลายโครงการเลย เพราะมีความ อยากจะช่วย มันจะพยายามหาทางช่วยจนได้เอง เพราะ โครงการที่มีพื้นฐานจากวิถีพุทธจะช่วยคนได้เยอะเลย เช่น การ บริการให้คำปรึกษาฟรีกับคนไข้ที่ไม่มีเงิน แก้ปัญหาให้คนได้ โดยไม่หวังผลตอบแทน หรืออะไรแบบนี้ การบริหารถ้ามีความเป็นโรงพยาบาลวิถีพุทธ มันจะดีกว่านี้มาก แต่ปัจจุบันนี้หลักการสร้างโรงพยาบาลคือ ทำยังไงให้เกิดกำไรสูงสุด ขาดทุนน้อยสุด ซึ่งเห็นได้ชัด ในรพ.เอกชน

ผมได้ฟังธรรมะข้อหนึ่ง คือ คนที่มีความอยากนั้นไม่ดี แต่ความอยากที่เขา หมายถึงคือตัณหา ส่วนใหญ่เป็นอกุศล แต่ถ้าเราไม่มีความอยากเลยไม่ได้ ถ้ามันเป็นความอยาก ทำดี เป็นฉันทะ อยากสวดมนต์ นั่งสมาธิ อยากทำบุญ อยากออกปฏิบัติธรรม ทำงานอาสา มันต้องมีฉันทะก่อนนะ ความอยากถ้าเป็นกุศล มันจะดีมาก

แต่ในความเป็นจริง สาขาแพทย์ที่ได้รับความนิยมมาก ที่สุดคือ ศัลยกรรมความงาม ผิวหนัง และทันตศาสตร์ เพราะได้เงินไวและง่าย

เอ่อ (หัวเราะ) มันคงเป็นเรื่องของการปลูกฝังพื้นฐาน หมอรุ่นใหม่คุยกับคนไข้ไม่เป็นแล้วนะ คุยแต่ 2 คำก็จ่ายยา คือมันไม่มีปฏิสัมพันธ์เลย ทั้งที่ถ้าเราคุยหน่อยนะ รู้เลย ว่าควรรักษายังไง ตรงไหน โดยเฉพาะหมอที่เก๋าๆเนี่ยจะ วินิจฉัยเก่งมาก หมอรุ่นใหม่ไม่มีตรงนี้เลย ไม่คุยกับคนไข้ ไม่คุยกับญาติคนไข้ วันๆพอว่างก็จับโทรศัพท์ ขลุกกับโทรศัพท์ นักศึกษาแพทย์พอว่างก็ก้มหน้ามองจอ แทบไม่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้คน

คุณหมอกำลังสื่อว่า คนไข้ถูกมองว่าเป็นเคสมากขึ้น แทนที่จะถูกมองว่า นี่คือการรักษาชีวิตคนคนหนึ่ง

สิ่งที่พวกเขาคิดคือ การเป็นหมอนี่มันดี เป็นทางเลือก อาชีพที่ดี จริงๆพื้นฐานการรักษามันมีหลักการขั้นต้นของมัน แต่นี่แทบไม่จับตัวคนไข้กันเลย สั่งแต่ยา เช่น โรคที่เจ็บหัวไหล่ เจ็บเข่า มันมีสาเหตุหลายอย่างเลย ดังนั้นต้องสังเกต ต้องถาม แต่นี่เอาแต่เล่นเน็ต เล่นเกม ผมเห็นเกมพวกต่อสู้กัน ฆ่ากันตายเป็นเบือ (หัวเราะ) แล้วมันจะบ่มเพาะความเมตตาจากไหน จะเรียนรู้ปฏิสัมพันธ์กับคนที่ไหนล่ะ ผมถึงเสียดายไง เพราะถ้าเราใส่การปฏิบัติธรรมลงไป มันจะมีความเมตตา เอื้อเฟื้อต่อสิ่งรอบข้าง การอยากตอบแทนคุณแผ่นดิน โลก สิ่งแวดล้อม เพิ่มด้วย

จากประสบการณ์ส่วนตัวนะ การเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม นั่งดูจิตดูใจตัวเอง มันทำให้เราเปลี่ยนไปมาก

คุณหมอเอาสิ่งที่ได้จากห้องผ่าตัดมาประยุกต์ยังไงบ้างคะ

สิ่งหนึ่งที่ผมจับได้คือ การที่ผมจะนั่งได้หรือไม่ได้ มันอยู่ที่ จิตของผมนี่เอง สิ่งที่ครูบาอาจารย์สอนว่า ให้จิตอยู่แค่จุดโฟกัส มีแค่นี้จริงๆ พอจิตไม่ได้ไปไหน จิตก็ไม่เหนื่อย เพราะพลังงาน ไม่ได้ใช้เลย แล้วก็มุ่งแต่จุดสัมผัส ทำาให้เกิดสติคมขึ้นไปเรื่อยๆ เพียงเพราะเราไม่ส่งจิตออกนอก พอจิตไม่เหนื่อยมันก็มีแรง มีพลัง แค่นั้นจริงๆ พอจิตออกท่องเที่ยวก็ดึงกลับมา

ส่วนหนึ่งที่ผมจับจุดได้เร็ว เพราะงานผ่าตัดมันต้องตรึง สมาธิ ตรึงจุดให้จดจ่อที่จุดผ่าตัด งานผ่าตัดสมอง ระบบ ประสาท มันละเอียดอ่อนและยาก บางทีผมอยู่ห้องผ่าตัด 4-8 ชม. ไม่กินข้าวเลย ไม่มีการหยุด non-stop ไม่หิวข้าว เลย เหนื่อยก็ไม่เหนื่อย ผมมาเข้าใจว่า ที่ไม่เหนื่อยเพราะ จิตมันจดจ่อตลอด จึงไม่เสียพลังงาน การเล่นกีฬายังช่วยให้ ร่างกายผมมีแรง อดทนได้นาน เอาจริงๆพวกหมอศัลย์นี่ กินข้าว 3 นาทีก็หมดแล้ว (หัวเราะ) แต่เพราะเราได้ฝึกมา ตลอดหลายปีในงานที่ทำ พอมานั่งปฏิบัติเลยจับจุดได้เร็ว

โฟกัสตอนทำงานผ่าตัดต่างกับโฟกัสวิปัสสนาอย่างไรคะ

แน่นอนว่าความคมของจิตมันต่างกัน การโฟกัสระหว่าง ผ่าตัดเป็นเรื่องของชีวิต แต่ไม่ใช่ชีวิตของเรา ถ้าทำาไม่ดีก็ตาย ชีวิตที่ได้จากการนั่งวิปัสสนาคือสิ่งที่เกี่ยวข้องกับชีวิตเราโดยตรง ความเป็นความตายของชีวิต ของชาติภพ คือเป็นเรื่องของ ตัวเรา พอเราคิดแบบนี้ ใส่ความตั้งใจ ตั้งมั่นลงไป พอจิต รวมนิ่งเป็นสตินะ ไม่มีความรู้สึกอยากเลิกเลย นั่งเท่าไหร่ ก็ไม่เบื่อ

สิ่งที่คุณหมอได้จากการปฏิบัติธรรม

ผมเข้าใจคำว่าจิตเศร้าหมองว่าคืออะไรอย่างแท้จริง ตอนที่ เกษียณผมก็ไปดูแลพระที่วัดเทพศิรินทร์ ได้รับความไว้วางใจ ดูแลเรื่องบวชพระเป็นธุระ ช่วงนั้นผมได้เรียนรู้ว่า ที่ไหนมีกิเลส จิตมันเศร้าหมอง เป็นสิ่งสำคัญมาก และเป็นเหตุผลว่าทำไม พ่อแม่ครูอาจารย์ ไม่ให้ความไว้วางใจกับใครเป็นพิเศษ เพราะ เวลามีลูกศิษย์เยอะ ยิ่งพระระดับสูง ยิ่งมีคนเอาใจ แต่ไม่ใช่ ทุกคนที่เป็นคนดี ตอนนั้น ผมเคยโดนกล่าวหาว่ารับสินบน โอ๊ยยยย ผมมีเงินขนาดนี้แล้ว จะรับสินบนทำไม (หัวเราะ) เจอแบบนี้บ่อยๆ จิตมันเศร้าหมอง ก็เลยต้องถอยออกมา ลูกผมก็พามา บอกว่าต้องชำระจิต พอมานั่งวิปัสสนา นั่งมองจิตตนเอง ถึงได้รู้ว่า อ๋อ มันเป็นแบบนี้

อีกเรื่องที่ต้องระวังให้มากคือ อัตตา คนที่อยู่ระดับสูง มีอำนาจ มักจะทนคนอื่นไม่ค่อยได้ (หัวเราะ) คนมักบอกผม ว่า อาจารย์ดุ หน้าดุ เข้มงวดมาก แต่เดี๋ยวนี้เราผ่อนคลาย ขึ้นเยอะ สิ่งที่ผมเรียนรู้คือ เราต้องทำไปเรื่อยๆ ไม่ต้องเร่ง ไม่ต้องรีบ แล้วผลลัพธ์จะมาเอง และอีกอย่างคือ เราต้องไม่ ทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้ว ผมจะคอยถามตัวเองเสมอว่า เฮ้ย น้ำเต็มแก้วหรือเปล่าเนี่ย ไม่ฟังใครเลยป่าว เวลาทำอะไร ผมจะมาพิจารณาว่ามันเป็นยังไง ต้องปรับอะไรหรือไม่

ทางธรรม พระพุทธเจ้าท่านทรงเรียกว่า ธรรมวิจยะ นี่เป็น คุณสมบัติที่ดี เพราะมันช่วยให้เราพัฒนาตนเองได้ไว อะไรดีก็ สานต่อ อะไรที่ไม่ดีก็หยุดและปรับ เวลาที่ผมนั่งเฉยๆจะชอบ นั่งคิดเรื่องที่ตัวเองทำไปว่ามันดี ไม่ดี พอไม่ดีก็เบรกตัวเองก่อน


ถามว่าการที่ถูกจับตามอง เกร็งหรือไม่ จริงๆเป็นเรื่อง ดีนะ ผมเลยไม่เกร็ง เพราะมันเป็นการกระตุ้นให้เราปรับปรุง พัฒนาตนเอง อยู่ในกรอบที่ดีเสมอ สมมุติเรามีกำแพงมีกรอบ แบบนี้ จะทำาอะไรใหม่ก็ต้องเพิ่มมาตรฐาน ทำอะไรใหม่ให้ มาตรฐานนั้น วางกรอบนั้นให้สูงขึ้น

คนยุคนี้มักโดดเดี่ยว และพอไม่มีทางออก จะมีปัญหา ทางจิตใจหรือคิดสั้นได้ง่าย มีเคล็ดลับอะไรที่ทำให้เรา สอนตนเองได้เสมอ

ในวัยเด็กผมมีชีวิตค่อนข้างโดดเดี่ยว เพราะอยู่กับผู้ใหญ่ กับคนแก่เป็นส่วนใหญ่ไม่ค่อยสุงสิงกับคนวัยเดียวกัน คุณย่าเลี้ยง ผมมา มันเลยอาจทำให้เราชอบนั่งดู สังเกตสิ่งต่างๆ มีเวลานั่ง ครุ่นคิดกับอะไรๆเยอะ เดิมทีผมไม่ค่อยพูดกับใครเท่าไหร่ แต่พอมีความรู้มากขึ้น ก็เริ่มคิดอะไรที่เป็นประโยชน์มากขึ้น ต้อง ขอบคุณพี่ชาย พอเริ่มโตเขาก็จับไปเรียนธรรมะที่วัด

คำาสอนที่ผมประทับใจที่สุดคือ การทำอะไรต้องมีศรัทธา ความเพียร และตามด้วยความตั้งใจจริง ตอนนั้นปัญญาที่ผม เข้าใจคือ ปัญญาทางโลก ไม่รู้เรื่องปัญญาทางธรรม ซึ่งเป็น อะไรที่คนละชั้นเลย และไม่ใช่จะบังคับให้เกิดได้ แต่อย่างน้อย เวลาที่ทำอะไร ผมจะให้ใจก่อนแล้วทำเต็มที่

อีกข้อคือ การอยู่กับคนดีๆ เพื่อนดีๆ สิ่งที่เด็กยุคใหม่ไม่ ค่อยมีคือ สติสัมปชัญญะ ไม่ค่อยมีความรู้ตัว เพราะความรู้ตัว ความมีสติสัมปชัญญะ โดยการรู้ตัวเมื่อมีสิ่งมากระทบ เราไม่รู้ตัว ก็จะไม่รู้ว่าต้องมี action ยังไง reactionยังไงซึ่งพื้นฐานครอบครัว การเลี้ยงดูเป็นยังไง แต่สิ่งที่จะทำให้ผมมีความสำเร็จน่าจะเป็น วิธีการจัดการกับความเบื่อ อย่างหลานผมวันๆหนึ่งมันก็บ่น ว่า เบื่อๆๆ (หัวเราะ) ทฤษฎีบอกไว้ว่า เวลาคนเรารู้สึกเบื่อ หมายความว่าในขณะนั้นเราไม่มีความพึงพอใจ ณ ตอนนั้น ถึง เวลาแล้วที่เราต้องหาอะไรใหม่ๆทำ ถ้าเราถือโอกาสเอาตรงนั้น หาอะไรที่ดี มีประโยชน์ทำ ชีวิตมันก็จะดีขึ้น แต่ถ้าเบื่อแล้วไป หาสิ่งไม่ดี เช่น ยาเสพติด คบเพื่อนเลว สนุกสนานติดลม ชีวิตก็ตกต่ำลง ในช่วงที่ crossroad เราต้องมีสติ จะกรรมเก่า กรรมปัจจุบัน หรือการเจอคนช่วงนั้นมันก็มีส่วนพลิกชีวิตได้ จากดีไปเลว หรือจากเลวไปดีก็มีมาแล้ว ชั่วพริบตาจริงๆแต่ถ้า เรามีสติ ทุกอย่างแก้ได้ ชะลอได้ ผ่อนเบาลงได้

และสุดท้าย การได้พบครูบาอาจารย์ที่ดีมันช่วยยกจิต ช่วยให้มีปัญญาทางธรรมได้ เพราะพอฟังเทศน์ฟังธรรมจาก ท่านแล้ว จิตเปลี่ยน มีกำลังมุ่งหน้าทำความดีมีประโยชน์ กับชีวิตได้จริง

สติจึงสำคัญขนาดนี้เลย เราต้องดำรงสติสัมปชัญญะอยู่ ทุกเมื่อ ทุกอิริยาบถ เว้นนอนหลับ (หัวเราะ) ถ้าเราคงสติ ไว้ได้ เราจะไม่ออกนอกเส้นทาง และพอเราฝึกความอดทน และอุเบกขาด้วยนะ ทุกอย่างที่มากระแทกก็กลายเป็นศูนย์ สิ่งที่มากระแทกใจผมแต่ละอย่าง พอมาปฏิบัติธรรม คลาย ยิ่งกว่าคลาย ทุกวันนี้ผมก็ยังทำงานบุญกับที่ที่ทำอยู่ แค่วางใจ ออกเป็นคนนอกออกมาหน่อยเท่านั้นเอง

เนื่องจากคุณหมอมักวิเคราะห์และประเมินผลในสิ่งที่ทำา เสมอ เราจะวัดผลความก้าวหน้าทางธรรมอย่างไรคะ

อย่างแรกคือ อย่าไปรีบไปเร่งมัน เมื่อไหร่เมื่อนั้น ปัญญา ทางธรรมมันไม่เหมือนปัญญาทางโลก วัดไม่ได้ ทุกคนจะเห็น ความก้าวหน้าได้เอง ซึ่งพูดเท่าไหร่ก็ไม่มีใครเข้าใจ เพราะมันเป็นปัจจัตตัง เราจึงต้องปฏิบัติเอง รู้เห็นเอง

มีหลายอย่างที่ผมเรียนรู้จากวิปัสสนา คือ ที่คิดว่าทำดีแล้ว ยังทำให้ดีได้อีก ที่แน่ๆคือ ถ้าปฏิบัติธรรมถูกทาง แล้วละก็ จิตเราจะมีความเมตตามากขึ้น ละเอียดอ่อนมากขึ้น อ่อนโยนมากขึ้น อีกข้อหนึ่งของความก้าวหน้าสำาหรับผม คือ ความตาย ทุกครั้งเมื่อคิดถึงเรื่องความตาย ถ้ายังกลัวตายอยู่ แปลว่าต้องฝึกอีกมาก แต่ถ้าคุณกลัวการกลับมาเกิด นี่แหละ คุณน่าจะพอไปวัดไปวากับเขาได้แล้ว (หัวเราะ)