Skip to content Skip to footer

เขียนอนาคต ด้วยวิชาประวัติศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร. ชัชพล ไชยพร

รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สิ่งแรกที่คุณนึกถึงยามได้ยินคำว่า วิชาประวัติศาสตร์ คือ อะไร ในสายตาของเหล่านักเรียนนักศึกษาในเวลานี้ คงไม่พ้น เครื่องมือล้างสมองของภาครัฐในการปลูกฝังความ กตัญญูต่อชาติ ต่อแผ่นดินเกิด ในขณะที่ผู้นำประเทศกลับมองว่า วิชาประวัติศาสตร์ คือ คำตอบของการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของคนในชาติที่ดำเนินอยู่มายาวนานได้ ดังนั้น เมื่อรัฐบาล มีแผนแยกวิชาประวัติศาสตร์ออกจากวิชาสังคมศึกษา โดยมี วัตถุประสงค์ต้องการให้เด็กมีความกตัญญูต่อชาติ จึงเกิดการ ถกเถียงและวิพากษ์อย่างหนักถึงความเหมาะสม ทั้งในบริบท ด้านกำลังคนและความสามารถของครูผู้สอน ไปจนถึงหลักสูตร การเรียนการสอนว่า ต้องเปลี่ยนอย่างไรให้พอดีและไม่ยัดเยียด

สำหรับรองศาสตราจารย์ ดร. ชัชพล ไชยพร รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักกฎหมายผู้ หลงใหลประวัติศาสตร์ตั้งแต่เยาว์วัย จนสะสมความรู้อย่างลึกซึ้งมากกว่าคนรุ่นเดียวกัน และได้เห็นการเปลี่ยนผ่านของ ทัศนคติและวิธีคิดของคนหลากรุ่น ดร. ชัชพล ค้นพบว่า สิ่งที่ รออยู่ปลายทางนั้น คือความล้มเหลวอีกครา เพราะเพียงแค่เริ่มต้น ก็ตั้งโจทย์ผิดเสียแล้ว หากแต่ความกตัญญูต่อแผ่นดินนั้นจะเกิดได้ ก็ต่อเมื่อทุกฝ่ายหยุดตอกย้ำเป้าหมาย ออกจากตัวเอง และฟังเสียงของอีกฝ่ายอย่างจริงจัง และ จริงใจ

ที่มาของความสนใจในวิชาประวัติศาสตร์ ทั้งที่อยู่สาย นิติศาสตร์

นอกจากเหตุผลที่ตอบไม่ได้ คือความสนใจที่ติดมาแต่จำความได้ คงด้วยเหตุผลที่เกิดจากแรงบันดาลใจในวัยเด็กจาก สิ่งที่ได้พบเห็นแวดล้อม ในครอบครัวก็จะมีเรื่องเล่าขานต่างๆ ในประวัติศาสตร์ของวงศ์สกุล มีการจัดพิธีต่างๆ ประจำปีที่บ้าน มีพ่อแม่เป็นนักอ่าน และที่ประทับใจจนจำได้แม่นยำ คือพอจะ จดจำงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี เมื่อปี 2525 ถัดจาก นั้นอีกสองปีก็มีงานพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 7 หลังจากนั้นก็มีพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบในปี 2530 พระราชพิธี รัชมังคลาภิเษกในปีต่อมา และอีกหลายๆ เหตุการณ์สำคัญๆ ของบ้านเมืองซึ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่เรากำลังเติบโต ตอน เด็กๆ ผมไม่สนใจเล่นของเล่นเด็กเลย ชอบเล่นดอกไม้ธูปเทียน (หัวเราะ) ชอบขลุกกับหนังสือ บวกกับความชอบคุยกับผู้ใหญ่ด้วย

ที่สำคัญ ต้องขอบคุณระบบการเรียนการสอนของโรงเรียน ด้วย ที่หล่อหล่อมเราให้มีกระบวนการทางความคิดแบบนี้ ผมไม่ เคยเรียนในแบบที่ต้องท่องจำเลย ผมเรียนโรงเรียนสาธิต มศว ประสานมิตร ที่นี่จะสอนให้คิด ให้ตั้งคำถาม ให้เถียงได้ แย้งได้ ไม่ จำกัดกรอบว่าต้องเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ สำาคัญที่สุดเลยคือ โชคดี ที่โรงเรียนของผมตั้งอยู่ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งมีคลัง หนังสือประวัติศาสตร์มหาศาล พออ่านหนังสือสมัยประถมมัธยม หมดแล้วไม่สาแก่ใจ ถ้าอยากรู้อีก ก็เข้าห้องสมุดมหาวิทยาลัย ความรู้ที่ได้เลยเกินตัวเด็กประถม เด็กมัธยมไป นี่คือประโยชน์ ของการมีแหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวเด็ก

อีกข้อที่ทำให้หลงใหลในวิชาประวัติศาสตร์มากขึ้นไปอีก คือ ผมได้มีโอกาสเป็นข้าราชบริพารในสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี พระราชธิดาพระองค์ เดียวในรัชกาลที่ 6 ได้ใกล้แหล่งข้อมูลและบุคคลเช่นบรรดา ข้าราชบริพารที่ทันเฝ้าฯ ในหลวงรัชกาลที่ 6 ทำให้ได้มีโอกาส ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลนี้ ซึ่ง ทรงเป็นผู้นำวิชาประวัติศาสตร์เป็นแบบตะวันตกมาสู่สังคมไทย พอยิ่งได้ค้นคว้าเรื่องของพระองค์ ก็ยิ่งได้เห็นเรื่องความมี น้ำพระราชหฤทัยกว้างในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเป็น พระมหากษัตริย์ผู้ทรงยินดีกับสังคมแห่งเสรีภาพในการแสดง ความคิดเห็นจากสาธารณะ

เป็นการปลูกฝังและบ่มเพาะจากครอบครัวตั้งแต่แรก

อันที่จริง ตอนที่เราเลือกคณะเรียนนั้น ในยุคนั้นไม่ได้เปิด กว้างเรื่องเส้นทางอาชีพ ท่านอยากให้เราเลือกเส้นทางชีวิตที่กว้าง ที่ทางเลือกเยอะๆ ผมแทบจะเป็นเด็กห้องคิงคนเดียวที่ไม่เรียน สายวิทย์เพราะไม่ชอบ ผมฝืนสุดตัวในตอนนั้น สุดท้ายก็เรียนสาย ศิลป์ แต่เป็นศิลป์คำนวณ ซึ่งก็ทรมานทรกรรมเหลือเกิน เพราะยัง ต้องเรียนคณิตศาสตร์ด้วย (หัวเราะ)

ตอนสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก็สอบติดตัวเลือกอันดับ 2 คือ คณะนิติศาสตร์ แต่พอเรียนไป เริ่มรักศาสตร์นี้อย่างจริงจัง เพราะค้นพบว่า การเรียนนิติศาสตร์ที่แท้จริงไม่ใช่การท่องจำ แต่ เป็นการแสวงหาที่มาและเหตุผล ที่คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย จะเน้นย้ำในเรื่อง Legal Reasoning มากกว่า Legal Text การให้เหตุผลทางกฎหมายสำคัญกว่าการท่องจำตัว บทกฎหมาย ยิ่งไปกว่านั้น Legal Reasoning ล้วนเป็นเรื่องของ ประวัติศาสตร์ทั้งนั้น

ครั้นกลับมาสู่มุมมองทางประวัติศาสตร์ การวินิจฉัยทางนี้ คือกระบวนการพิจารณาคดีอย่างของศาลนั้นเอง เริ่มจากการตั้ง ปัญหา มีโจทก์ มีจำาเลย มีการแสวงหาพยานหลักฐานสนับสนุน หรือคัดค้าน ชั่งน้ำาหนักพยานหลักฐาน แล้วตัดสินใจ ในฐานะที่ ใช้ชีวิตอยู่ในทั้งสองศาสตร์ ก็เริ่มนำากระบวนการค้นหาคำาตอบ ทั้ง 2 แบบนี้มาเสริมกัน ความรักในประวัติศาสตร์ของผมจึงไม่ใช่ รักแล้วอ่านหรือฟัง แล้วเพลินไปเรื่อยๆ

แต่พอเรามองในมุมกฎหมาย กระบวนการวิเคราะห์เชิง ประวัติศาสตร์ก็ช่วยอีก ยกตัวอย่างเช่น ถ้ายกประเด็นพิจารณา เรื่อง “ประหารชีวิต” โดยมองย้อนกลับ จากปัจจุบันคือ ใช้วิธีการ ฉีดสารพิษให้ตาย ก็ถามว่า ทำไมก่อนหน้านี้จึงยิงเป้า ก่อนหน้า นั้นไปอีก ทำไมฟันคอขาด แล้วก่อนหน้าขึ้นไปอีก ก็มีสารพัด วิธี เช่น กรีดเนื้อ หรือเอาเหล็กร้อนๆ ใส่ลงไปที่กะโหลกศีรษะ คำถามคือ เพราะอะไร ปัจจุบันถึงเปลี่ยนมาใช้วิธีนี้แทน มันทำให้ เราเข้าใจว่า กฎหมายที่มีอยู่ จะลอยโดดๆ ขึ้นมาไม่ได้ แต่เพราะ สังคมมนุษย์มันมีบริบทอื่นๆ ด้วย อันที่จริง ประเด็นวินิจฉัย ศาสตร์ใดๆ ในโลก ไม่มีบทสรุปนิรันดรหรอกครับ มนุษย์เป็น คนคิดค้นตั้งศาสตร์ทั้งหลายขึ้นมาเอง เมื่อมนุษย์เปลี่ยน สังคม เปลี่ยน วิธีการและมุมมองจึงเปลี่ยนไปได้ตลอด

ด้วยความรู้และพื้นฐานที่แน่นและกว้างกว่าในหนังสือเรียนรู้สึกอย่างไรกับการสอนในปัจจุบันที่เน้นให้เด็กท่องจำ

อันที่จริงผมว่าการสอนประวัติศาสตร์คือ Storytelling หรือ การเล่าเรื่อง ถ้าอาจารย์คนไหนเป็นนักเล่าเรื่องที่เก่ง จะสามารถ ทำให้เด็กรักการเรียนรู้ในวิชานั้นๆ กระบวนการสอนคือต้นเหตุที่ ทำให้วิชาประวัติศาสตร์น่าเบื่อหรือสนุก ถ้าอาจารย์คนไหนทำให้เรื่องสงครามยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชน่าสนใจ ให้เหมือนเราอยู่ในเหตุการณ์ตอนนั้น แล้วว้าวไปด้วย นั่นแหละ หน้าที่คนสอนประวัติศาสตร์ คือ สร้างแรงบันดาลใจผ่านเรื่องเล่า โดยพื้นฐานของข้อเท็จจริง และให้วิธีวิทยาคือ Methodology แก่ ผู้เรียนในการที่จะไต่สวน แต่ต้องทำให้ผู้เรียนเกิดแรงบันดาลใจว่า พระราชดำรัสนั้นอยู่บนหลักฐานที่น่าเชื่อถือหรือไม่อย่างไร เท็จ จริงหรือไม่ ถ้าจริงและทำไม ถ้าไม่จริงแล้วยังไง และถ้าตรัสอย่าง นั้นจริง เพราะอะไร ให้มองอย่างพฤติกรรมศาสตร์ด้วยความเข้าใจ

ถ้าเราย้อนกลับไปดูรากของคำว่า History คำนี้มาจากคำาว่า Historio แปลว่าแสวงหา ตั้งคำถาม หรือไต่สวน ไม่ได้แปลว่าเรื่อง เก่าๆ ดังนั้นวิชา History คือ วิชาแห่งการไต่สวน ฉะนั้น การเรียน ประวัติศาสตร์แบบท่องจำ หรือบอกว่า 1 2 3 4 แล้วจบ นี่เป็น ความจริงนะ ห้ามเถียง ห้ามเปลี่ยน ห้ามแย้ง การเรียนแบบนั้น โดยไม่รู้จักตั้งถามคำถาม จะทำให้เราไปต่อไม่ได้

เอางี้ คำาว่า ศาสตรา เนี่ยมันแปลว่า อาวุธ หรือของมีคม เช่น มีด เราสามารถใช้มีดผ่าตัดเอาเนื้อร้ายออกจากร่างกาย ทำาให้คน มีชีวิตรอด หรือแทงให้คนนั้นตายไปเสียเลยก็ได้ ประวัติศาสตร์ ก็ เปรียบได้กับของมีคม เราจะใช้มันอย่างไร ถ้าเราใช้ประวัติศาสตร์ เพื่อทำลายล้าง ก่อให้เกิดสงคราม เราก็สามารถใช้มันเป็นอาวุธได้ อย่างหนักหนาสาหัสที่สุด เราสามารถสร้างรัฐสมัยใหม่อันศิวิไลซ์ ก็ได้ หรือเราจะใช้สร้างสิ่งดีงามต่อกันในชีวิตประจำาวันก็ยังได้ มอง เพื่อนบ้านแบบไม่ประหัตประหารกัน เราอาจนำเอามาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในอาเซียน หรือสร้างความเข้าใจกันของชาติพันธุ์ที่มี ความหลากหลายในรัฐก็ยังได้ ขึ้นกับว่าคุณสอนอย่างไร ทำาความ เข้าใจอย่างไร และมีทัศนะอย่างไร

ดังนั้น ถ้าถามว่า วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่มีคุณประโยชน์ ไหม มีแน่นอน แล้วก็มีโทษด้วย ผมไม่เห็นว่าเป็นเรื่องผิด และ ออกจะถูกต้องด้วยซ้ำที่กระทรวงศึกษาธิการจะนำเอาวิชา ประวัติศาสตร์กลับมาเน้นย้ำว่าสำคัญนักหนา แต่ถ้าวิธีคิดของ ผู้บริหารและครูผู้สอนตลอดจนนักเรียนผู้เรียน ไม่เข้าใจถึงจุด มุ่งหมายแห่งการใช้ศาสตราเล่มนี้ มันอาจจะพาให้พังพินาศได้ ถ้าวกวนอยู่แค่เล่าเรื่องเก่า บังคับให้ท่องออกมาเหมือนๆ กัน

แล้วตอนนี้มันเกิดอะไรขึ้น ทำาไมเราถึงไปไม่ถึงตรงนั้นเสียที แล้วแค่วิชานี้จะสามารถช่วยได้ขนาดไหน

เวลาที่ผมเริ่มสอนนิสิต ผมมักมีคำถามอยู่คำถามหนึ่งก่อน เข้าเนื้อหา คือ โลกกลมหรือโลกแบน นิสิตก็จะตอบทันทีว่า โลกกลม ผมก็ถามต่อว่าเพราะอะไร เขาก็ตอบว่าวิทยาศาสตร์สอน มา อ้าว! คุณเชื่อเหรอ เพราะอะไรถึงเชื่อ แล้วคุณเชื่อใคร ทำไม คุณถึงคิดว่า คุณฉลาดกว่าคนเมื่อพันปีที่แล้วที่เชื่อว่าโลกแบน คนในยุคนั้นเขาก็มีโลกทัศน์ของเขา แล้วเขาก็เชื่ออย่างนั้น อาจ เป็นคัมภีร์ทางศาสนาหรือการใช้อัตตาของตนมองก็ได้ ครั้นมี วิทยาศาสตร์เข้ามา คุณก็ “เชื่อ” วิทยาศาสตร์ ตกลงแล้วใครฉลาด กว่าใคร แล้วคุณเคยพิสูจน์หรือยัง นิสิตก็จะตอบว่า ไม่เคย ผม ก็จะบอกว่าจริงๆ คุณพิสูจน์มันอยู่ตลอดเวลา เคยขึ้นเครื่องบินหรือไม่ หรือ นั่งๆ เรือไปเรือตกโลกมั้ย นั่นแปลว่า จริงๆ คุณได้ ทำการพิสูจน์มันไปแล้ว และมีโอกาสพิสูจน์ตลอดเวลา แต่คุณ ไม่เคย “สังเกต” เลยต่างหาก ดังนั้น มนุษย์ในยุคก่อนหน้าและ ยุคนี้จึงไม่มีใครฉลาดกว่าใครถ้าสักแต่ว่าใช้ “ความเชื่อ” โดยไม่ “พิสูจน์”

แล้วผมก็อาจจะสะกิดผู้เรียนว่า เดี๋ยวนะ “โลก” ที่นั่งเถียง กันว่ากลมหรือแบนน่ะ “โลกเดียวกันหรือไม่” ก็ไปต่อที่คำถามว่า “นิยามของโลก” คืออะไร ก่อนจะเถียงอะไรดีหรือไม่ดี แล้วต่อสู้ กัน ต้องมาดูก่อนว่า นิยามตรงกันหรือไม่

พอมามองเรื่องการนำชั้นเรียนประวัติศาสตร์กลับเข้า มาเน้นย้ำเป็นกลุ่มสาระ ผมก็ต้องถามว่า “โลกทัศน์การเรียน ประวัติศาสตร์” ของคนอายุ 70 60 50 40 30 20 และ 10 ขวบ ณ ตอนนี้ มันโลกทัศน์เดียวกันไหมนั่น คนละโลกทัศน์กัน แน่ๆ ครับ สมมติว่าคนที่ตัดสินนโยบายคือคนที่มีโลกทัศน์ของ ยุคคนอายุ 70 ปีเคยเรียนมา เขาก็มองว่า วิธีการเรียนการสอน แบบนั้นมันดี เพราะเขาเรียนมาแบบนั้น แล้วมันก็ได้ผลดี

มุมมองที่ต่างกันต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์คือ Vision หรือวิสัยทัศน์ที่ต่างกันของแต่ละเจนเนอเรชั่น หรือช่วงชั้นวัย แต่ละช่วงชั้นวัยย่อมพยายามใช้สิ่งที่หล่อหลอมเขาให้เติบโตมา ยืนยันใช้กับคนยุคอื่นว่าดี เพราะโลกคือเขาไง สัตว์ทุกตัวในโลกนี้ คิดว่าโลกเป็นของมัน แมลงสาบวิ่งออกมา ถ้าพูดได้ ก็อาจบอก ความคิดของมันว่า นี่โลกของแมลงสาบ มนุษย์บอกไม่ใช่ นี่โลก ของฉัน มันก็ตอกกลับมาว่า ยุ่งอะไรด้วย (หัวเราะ) นี่มันโลก ของฉัน แกน่ะ คือผู้รุกรานที่จะมาไล่เหยียบฉัน ในขณะที่มนุษย์ บอก แมลงสาบต่างหากที่เข้ามาวุ่นวายสกปรกในบ้านของฉันนี่

อะไรๆ ก็มีประวัติการณ์ของมันมาทั้งนั้น อย่างตอนนี้เรา ก้าวผ่านเลยยุคโลกาภิวัตน์ ไปสู่โลกดิจิทัลนานแล้ว และกำลัง อลหม่านอยู่ในยุค Disrupt พอเราพูดถึงยุค Disrupt มันคือการที่ทุกอย่างขยำรวมกันไปหมด ปนกันอีเหละเขละขละ คนที่อยู่ใน สังคมเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เทคโนโลยีข้อมูลข่าวสาร โลกาภิวัตน์ หรือดิจิทัล จึงต่างก็หงุดหงิด แต่ทั้งหมดนี้ ถ้าคุณ เรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่อความเข้าใจ คุณจะไม่เครียด ไม่ตัดสิน คุณจะเข้าใจคุณยายที่นั่งเฝ้ากระท่อมเถียงนาตำหมากอยู่เวลา คุณกลับบ้านที่ต่างจังหวัด พร้อมๆ กับการที่คุณก็เข้าใจตัวเอง ที่ถือไอแพดเคี้ยวหมากฝรั่งไปนั่งคุยกับคุณยาย แต่ถ้าคุณบอกว่า ไม่สิ ต้องกระบวนทัศน์ยุคนี้ถูกแท้ จะสู้รบกัน เชิญเลยครับ เชิญเลย ประวัติศาสตร์ก็กลายเป็นเครื่องประหัตประหารทันที แล้วก็จะย้อนถามว่า ได้อะไร สนุกไหม ถ้าเราค่อยๆ สอนแบบ นี้ ผู้เรียน ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ก็ตาม อาจจะเริ่มคลายความเป็น เขา-เป็นเรา มันจะกลับไปที่คำเดิม “ความรักชาติ” คืออะไร หรือ แม้แต่ “รักเจ้า” คืออะไร