Skip to content Skip to footer

LIVES THROUGH The Lens

This image has an empty alt attribute; its file name is image-22-819x1024.png

with JKBoy-Jetanipat Kespradit

ความฝันที่จะได้เห็นสถานที่ในตำ นานความยิ่งใหญ่ของเจ็งกิสข่าน คือจุดเริ่มต้นของการเดินทางถ่ายภาพที่ประเทศมองโกเลียของคุณบอย-เจตนิพัทธ์ เกษประดิษฐ์ หรือ JKBoy ช่างภาพนักผจญภัยที่คว้ารางวัลระดับโลกมาแล้ว หลายรายการจากผลงานภาพถ่ายชนเผ่าที่ดึงดูดสายตา และทำ ให้อดสงสัยไม่ได้ ว่าพวกเขาเหล่านั้นคือใคร

ก่อนจะมาเป็นผู้บันทึกชีวิตและเรื่องราวของชนเผ่าอันห่างไกลและยากจะมี ใครไปถึง คุณบอยเคยเป็นวิศวกรที่ลาออกจากงานประจำ มาเป็นช่างภาพ Landscape เต็มตัว กว่า 10 ปีที่เดินทางถ่ายภาพทิวทัศน์ในประเทศต่างๆ มาแล้วนับ ครั้งไม่ถ้วน ไปไกลถึงปาตาโกเนีย สถานที่ที่มีวิวภูเขาสวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จนถึงจุดอิ่มตัวของการถ่ายภาพทิวทัศน์ จึงเริ่มมองหาแรงบันดาลใจใหม่ เทือก เขาอัลไต ดินแดนของนักรบบนหลังม้าที่เป็นพรมแดนระหว่างประเทศมองโกเลีย และคาซัคสถานกลายเป็นหมุดหมายแรก และที่นั่นทำ ให้เขาได้พบชนเผ่านักล่านก อินทรีทอง จนเกิดเป็นภาพ Eagle Hunter ซึ่งได้รับรางวัล Overall Winner จาก The International Portrait Photographer of the Year ในปี ค.ศ. 2022

กว่าจะได้ภาพแต่ละภาพที่ทั้งงดงามและทรงพลังอย่างที่เราเห็น ทั้งหมดมาจากการเตรียมตัวและวางแผนมาเป็นอย่างดี และเป็นสิ่งที่คุณบอยให้น้ำหนัก มากที่สุดในการทำ งาน เริ่มตั้งแต่การหาข้อมูลของชนเผ่า สำรวจพื้นที่ล่วงหน้า จาก Google Earth เตรียมอุปกรณ์ถ่ายภาพ ไม่ว่าจะเป็นกล้องเลนส์ ขาตั้งกล้อง แฟลช คำนวณน้ำหนักของอุปกรณ์ เนื่องจากบางพื้นที่รถยนต์เข้าไม่ถึง ซึ่งจะต้อง เดินทางด้วยม้า ไปจนถึงคำนวณการใช้เมมโมรีการ์ดและแบตเตอรี่ เขียน Storyboard เพื่อวางทิศทางการเล่าเรื่อง และที่ขาดไม่ได้คือกล้องโพลารอยด์สำ หรับ ถ่ายภาพเพื่อมอบเป็นที่ระลึกให้ชาวชนเผ่าได้ในทันที เมื่อเดินทางไปถึงสถานที่จริงก็จะใช้เวลาสำรวจมุม หาโลเคชันในพื้นที่เพื่อให้ได้ภาพที่ดี องค์ประกอบสวยงาม และบอกเล่าถึงความเป็นชนเผ่านั้นๆ หรือสิ่งที่พวกเขาต้องการสื่อสารได้

อีกส่วนสำคัญไม่แพ้กันคือการพูดคุยสร้างความคุ้นเคย บางแห่งใช้เวลากว่าครึ่งทริปในการเข้าไปทำ ความรู้จัก บอกเล่าจุดประสงค์ และใช้ชีวิตคลุกคลีอยู่กับผู้คนในชนเผ่า คุณบอยเล่าว่าตอนที่ไปมองโกเลียได้กินอาหารเหมือนที่เขากิน นอนก็นอน ในบ้านเขาซึ่งเป็นกระโจม แน่นอนว่าในครั้งแรกอาจไม่ใช่เรื่อง ง่าย อย่างเช่น เซ็ตภาพถ่ายพิธีระบำ หน้ากากของวัดเก่าแก่ใน มองโกเลียที่พบโดยบังเอิญจากการเดินทางหนีพายุหิมะ และใช้ เวลาถึง 7 ปีกว่าจะติดต่อและได้รับอนุญาตให้ได้ถ่ายภาพพิธีอัน ศักดิ์สิทธิ์นี้ออกสู่สายตาชาวโลก การเดินทางไปมองโกเลียหลายครั้งตลอดหลายปีเพื่อถ่ายภาพชนเผ่าที่ยังคงย้ายถิ่นฐานไปตาม พื้นที่ต่างๆ ยังทำ ให้เกิดมิตรภาพอันแน่นแฟ้นที่ไม่แบ่งพรมแดน และเชื้อชาติ โดยมีภาพถ่ายเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์

เมื่อเทียบกับการเดินทางบุกป่าฝ่าดงไปอยู่ในสถานที่ที่ไม่ คุ้นเคย ต้องเผชิญกับสภาพอากาศและภูมิประเทศห่างไกลแบบ ไม่ต้องพูดถึงสัญญาณโทรศัพท์ เพราะบางที่ไม่มีแม้กระทั่งไฟฟ้า หรือน้ำ ประปา แต่คุณบอยก็ยังบอกกับเราว่า ประโยชน์ที่ได้นั้น มันช่างคุ้มค่า เพราะนอกจากความภาคภูมิใจของชนเผ่าใน อัตลักษณ์ของตัวเอง ในความงดงามของผลงานภาพที่สื่อสาร ออกไปในวงกว้างยังทำ ให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่ดีด้วยเช่น กัน เช่น ในมองโกเลียก็เกิดเป็นเส้นทางท่องเที่ยว สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับคนท้องถิ่น รวมไปถึงชนเผ่าล่านกอินทรีที่ส่วนมากคนรุ่นใหม่จะเข้าไปทำ งานในเมือง แต่เมื่อภาพถ่ายถูกเผย แพร่ออกสื่อมากขึ้น ก็มีการกลับมาเรียนและสานต่อสิ่งนี้ จน ประเทศมองโกเลียได้แต่งตั้งให้คุณบอยเป็นทูตวัฒนธรรมอย่าง เป็นทางการ

“ชนเผ่ากะเหรี่ยงเขาเคยเล่าให้ผมฟัง เขารู้สึกว่าเครื่องแต่ง กายของเขาล้าสมัย เชย ไม่กล้าแต่งกายชุดชนเผ่าออกไปในเมือง ทั้งๆ ที่ประวัติศาสตร์ของเขาเก่ากว่าของเราตั้งเยอะ เราอาจจะ นับได้แค่รุ่นปู่รุ่นย่า แต่กะเหรี่ยงหรืออาข่า นับได้เป็น 500-600 ปี ผมเลยมองว่าประวัติศาสตร์ประเพณีของเขาเก่ากว่าเราอีก เขาควรภูมิใจแล้วก็เก็บรักษาตรงนี้เอาไว้ เวลาผมถ่ายภาพก็จะ เห็นว่าทุกคนยืนอย่างสง่างาม ภูมิใจในชาติพันธุ์ของตัวเอง เวลา เขาได้เห็นรูปที่ถ่ายออกไป เขาก็มาขอบคุณ และบอกว่าเขารู้สึก ภูมิใจว่าบรรพบุรุษของเขาแต่งกายแบบนี้ พอเราได้รับคำ พูดนี้ กลับมา เราก็มีแรงบันดาลใจมากขึ้น”

จริงที่ว่าระหว่างทางก็สำ คัญไม่เเพ้จุดหมาย กว่า 20 ชน เผ่าใน 10 ประเทศกับผลงานสร้างสรรค์ที่เปรียบได้กับบันทึก ทางประวัติศาสตร์ และหลายครั้ง ภาพหนึ่งภาพก็เป็นกระบอก เสียงที่พูดแทนผู้คนกลุ่มหนึ่งได้อย่างทรงพลัง การเดินทางทำ ให้ ได้เรียนรู้วิถีชีวิตในอีกแบบ เรียนรู้วัฒนธรรมและประเพณีอันเป็น เอกลักษณ์ ที่สำ คัญยังทำ ให้ได้เรียนรู้แง่มุมชีวิตไปพร้อมๆ กัน

“พอเราได้ไปเจอคนมากๆ เราไปอยู่กับธรรมชาติเยอะๆ เราก็รู้ว่าสุดท้ายเราก็เป็นแค่จุดเล็กๆ ของโลก เราก็ไม่ได้เป็นคน สำคัญอะไรมากมาย รับอะไรได้ง่ายขึ้น พอไม่ได้คาดหวังอะไร มาก ก็ไม่ต้องผิดหวัง”

อ่านฉบับเต็มได้ที่ นิตยสารข้ามห้วงมหรรณพ ฉบับที่ 58 สมัครสมาชิก คลิ๊กที่นี่

สำหรับลูกค้าในประเทศ

สั่งซื้อนิตยสารได้ที่นี่