
ราชินีน้ำแข็ง แห่งวงการแฟชั่นผู้กุมบังเหียน โว้ก อเมริกา
ในแวดวงแฟชั่นระดับโลก “สุภาพสตรีผมทรงบ๊อบสั้นตลอดกาล ผู้สวมแว่นกันแดดสีดำ ของ Chanel” คือซิกเนเจอร์ ลุคของ แอนนา วินทัวร์ (Anna Wintour) สุภาพสตรีวัยกว่า 70 ปี ผู้กุมบังเหียนนิตยสารแฟชั่นระดับโลกอย่าง โว้ก อเมริกา (Vogue) และผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของอาณาจักรสิ่งพิมพ์ กองเด นาสต์์ (Condé Nast) มาอย่างยาวนาน เธอผู้ที่อยู่บนยอดพีระมิดแห่งวงการแฟชั่น เป็นอีกหนึ่งคนที่มีอิทธิพลมากที่สุดของโลกแฟชั่นและความสวยความงามด้วยภาพลักษณ์ที่ดูจริงจังกับงานตลอดเวลา และมีความเย็นชาสื่อหลายสำนักจึงตั้งฉายาให้ว่า ราชินีน้ำแข็ง และนางมารแห่งโลกแฟชั่น
มีคำพูดที่ว่า “สายตาหลอกกันไม่ได้” นี่คงเป็นอีกหนึ่งเหตุผลที่ทำให้แอนนาต้องสวมแว่นดำ อยู่เกือบตลอดเวลา เพราะ สำหรับเธอแล้วนั่นคือ “เกราะป้องกันการสบตา” ตามที่สมาชิกในครอบครัวของเธอเคยเล่าไว้ และเธอเองเคยให้สัมภาษณ์กับ CNN ในปี 2019 ถึงเหตุผลว่า “มันมีประโยชน์อย่างมาก เพราะป้องกันไม่ให้คนรู้ว่ากำลังคิดอะไร” และเธอยังบอกอีกว่า “ฉันสามารถนั่งดูโชว์ และถ้ารู้สึกเบื่อก็ไม่มีใครสังเกตเห็น”
เมื่อต้นปี 2024 ที่ผ่านมา สื่อของสหรัฐฯได้พาดหัวถึงเธอ รับศักราชใหม่กับการประกาศเลิกจ้างพนักงานของ กองเด นาสต์ ออก การเลย์ออฟพนักงานครั้งนี้ เกิดจากการตัดสินใจควบ รวมระหว่าง พิชต์ฟอร์ก (Pitchfork) และจีคิว (GQ) แต่ที่เป็นประเด็นมากกว่านั้นคือ แอลลิสัน ฮัสซี อดีตนักเขียนของ พิชต์ ฟอร์ก ได้โพสต์ลงโซเชียลของตัวเองว่า “…เธอไม่ได้ถอดแว่น กันแดดขณะที่กำ ลังบอกเราว่าเรากำลังจะถูกเลิกจ้าง นั่นคือการไม่ได้รับความเห็นใจจากเธอ” แต่จะว่าไปแล้วเราก็ไม่สามารถ บอกได้ว่า แอนนา รู้สึกหรือคิดอะไรอยู่ เพราะสำหรับเธอแล้ว แว่นตาดำ คือ “เกราะป้องกันของเธอ”
กว่าจะมาอยู่ฟรอนต์โรว์ของวงการแฟชั่น แอนนา วินทัวร์ ก็ต้องผ่านบททดสอบไม่น้อย ก่อนจะมาปักหลักอยู่กับโว้กอเมริกา เธอต้องย้ายงานหลายครั้ง แอนนาเริ่มก้าวเข้าสู่วงการแฟชั่น ตั้งแต่ปี 1970 กับบทบาทผู้ช่วยบรรณาธิการรุ่นแรกของนิตยสาร ฮาร์เปอร์สแอนด์ควีน (Harpers & Queen) ในขณะนั้นแอนนา เคยให้สัมภาษณ์กับผู้แต่งหนังสือฟรอนต์โรว์ ว่า “อยากเป็น บรรณาธิการให้กับนิตยสารโว้ก” ต่อมาในปี 1975 เธอได้โผบิน ออกจากที่ทำ งานเดิมตรงมาที่นิวยอร์ก และได้รับตำ แหน่งใหม่ เป็นบรรณาธิการแฟชั่นระดับจูเนียร์ ของนิตยสารฮาร์เปอร์ส์ บาซาร์ อเมริกา (Harper’s Bazaar) หลังจากนั้นเธอต้องเจอบท พิสูจน์เรื่อยมา ทั้งถูกเลิกจ้างด้วยเหตุผลที่ว่า เธอไม่เข้าใจแฟชั่น ของผู้หญิงอเมริกันและอีกมากมายหลายต่อหลายเรื่องจนทำให้ เธอเลือกที่จะหยุดพักตั้งหลักหลังจากนั้นราว 2 ปี
พอเข้าปี 1980 เป็นอีกครั้งที่แอนนาได้รับโอกาสนั่งโต๊ะ บรรณาธิการนิตยสารผู้หญิง แซฟวีย์ (Savvy) ที่เพิ่งเปิดตัว การเริ่มต้นใหม่ในครั้งนี้ทำให้เธอเรียนรู้วิธีมัดใจผู้อ่านอยู่ไม่น้อย แต่พอเวลาผ่านไปความหวือหวาก็ลดลง แอนนารู้สึกว่าที่นี่ไม่ท้าทายสำหรับเธออีกต่อไป จึงกระโดดไปเป็นบรรณาธิการแฟชั่น นิตยสารนิวยอร์ก (New york magazine) หลังจากทำงานอยู่หลายปี ทั้งคอลัมน์ที่เธอเขียนและการถ่ายแฟชั่นที่เธอดูแลเริ่มเป็นที่สนใจของผู้คนในวงการ แอนนาก็เริ่มสังเกตว่าเมื่อไรที่มีบุคคลมีชื่อเสียงมาขึ้นปก ยอดขายฉบับนั้นจะพุ่งสูงขึ้นมาก
ในช่วงปี 1980 นิตยสารโว้กเริ่มสั่นคลอน เพราะคู่แข่ง อย่างนิตยสารแอล (Elle magazine) ได้รับความนิยมมากกว่า ผู้บริหารของกองเด นาสต์ จึงต้องมองหาความแปลกใหม่มา เติมเต็มสิ่งที่ขาดหาย เพราะตอนนั้นหากเปรียบเทียบแล้ว โว้ก อเมริกาเริ่มจะเหมือนหญิงสูงวัยเข้าทุกที จนไปสะดุดกับสาว ลอนดอน ที่มีความเปรี้ยว เก๋ ในแวดวงสื่อสิ่งพิมพ์นิวยอร์ก อย่างแอนนา และเสนอตำ แหน่งครีเอทีฟ ไดเรกเตอร์ (Creative Director) ให้เพราะเกรงว่าหากช้าไป นิตยสารคู่แข่งต้องคว้าตัว เธอไปแน่นอน
เมื่อโว้กอังกฤษ ต้องการบรรณาธิการคนใหม่ แอนนาจึง ถูกตามตัวกลับไปลอนดอน ช่วงเวลาไม่กี่ปีที่เธอรับตำ แหน่งนี้ แวดวงสื่อแฟชั่นได้ตั้งฉายาให้เธอว่า “นิวเคลียร์วินทัวร์” เพราะ เธอเหมือนล้างหน้าไพ่ให้กับนิตยสารโว้กอังฤษใหม่ทั้งหมด จน ทำ ให้ผู้ร่วมงานเริ่มไม่อยากทำ งานด้วย กองเด นาสต์อเมริกา จึง โยกเธอกลับมาเป็นบรรณาธิการนิตยสาร เฮาส์แอนด์การ์เดน (House & Garden) ที่เธอเปลี่ยนชื่อเป็น HG และเติมส่วน แฟชั่นเข้าไปพร้อมปรับโฉมจนได้รับความนิยมจากผู้อ่านและมี ผู้ติดต่อลงโฆษณากันไม่ทันเลยทีเดียว
ด้วยประสบการณ์ และเทคนิคพลิกโฉมนิตยสารจนได้รับ กระแสความนิยม เป็นบทพิสูจน์ความสามารถของเธอ จนกอง เด นาสต์แต่งตั้งให้เธอขึ้นแท่นนั่งตำ แหน่งบรรณาธิการนิตยสาร โว้กอเมริกา ความใฝ่ฝันของเธอตั้งแต่เริ่มเข้าวงการเป็นจริงแล้ว และกระแสตอบรับสำ หรับปกโว้ก อเมริกา ฉบับปฐมฤกษ์ ภาย ใต้บังเหียนของแอนนา วินทัวร์ได้รับเสียงชื่นชมเป็นอย่างมาก ถึง แม้ว่าในช่วงแรกจะถูกซุบซิบอยู่ไม่น้อย และไม่ค่อยได้การยอมรับ จากทีมงานเดิมก็ตาม เพราะเธอแหกขนบเดิมของโว้กที่ชอบ ถ่ายภาพใบหน้าตรง แต่งตัวด้วยเครื่องประดับชิ้นใหญ่ ใส่เสื้อผ้า แบรนด์หรู และถ่ายภาพอยู่ในสตูดิโอ มาเป็นให้นางแบบสาวจาก อิสราเอลอย่างมิเคลา เบอร์กู (Michaela Bercu) ใส่สเวตเตอร์ ปักรูปไม้กางเขนของคริสเตียน ลาครัวซ์ (Christian Lacroix) ราคา 10,000 ดอลลาร์ คู่กับกางเกงยีนส์จาก เกสส์ (Guess) ราคาเพียง 50 ดอลลาร์ พร้อมรอยยิ้มอย่างเป็นธรรมชาติบน ถนน แม้จะไม่ใช่ภาพอย่างที่ตั้งใจไว้ แต่เธอเลือกภาพตาม สัญชาตญาณและต้องการส่งสารในฐานะผู้นำ แฟชั่นคนใหม่ ด้วย การสร้างความเปลี่ยนแปลงให้ผู้อ่านเห็นในทันที เกิดเป็นข้อถก เถียงทั้งบวกและลบ
แต่นั่นก็ทำ ให้งานเข้าถึงผู้อ่านได้กว้างขึ้น เปลี่ยนวิธีการมอง โลกแฟชั่นให้ไปไกลกว่าขอบเขตเดิมๆ ไม่จำ กัดว่าต้องไฮแฟชั่น ด้วยเสื้อผ้าราคาแพง แสดงถึงความก้าวหน้าเชิงความคิด รวมถึง การสื่อสารประเด็นสังคม และนั่นคือหัวใจหลักของโว้กภายใต้ การดูแลของแอนนา
นอกจากงานนิตยสารแล้วนั้น แอนนา ยังเป็นตัวแปรสำ คัญ ช่วยผลักดันงาน เมต กาล่า (Met Gala) อีเวนต์สำ คัญประจำ ปี ที่หลายคนรู้จัก เป็นงานระดมทุนช่วยเหลือด้านหน่วยงาน และบูรณาการให้กับสถาบันเครื่องแต่งกาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิทัน (The MetropolitanMuseum of Art) ในนิวยอร์ก ในปี 1995 เป็นปีที่ แอนนา เข้ามารับช่วงต่อ ในการเป็นแม่งาน เธอยกระดับให้งานอีเวนต์ เล็กๆ เฉพาะกลุ่ม กลายเป็นอีเวนต์แฟชั่นใหญ่ยักษ์ประจำ ปีที่คนให้ความสนใจไม่ แพ้งานประกาศรางวัลออสการ์ จนหลายคนขนานนามอีเวนต์นี้ ว่า The Super Bowl of Fashion หรือ The Oscars of Fashion ทุกปี เมต กาล่าจะมาพร้อมธีมการแต่งกายให้เหล่า คนดังได้สนุกในการนำ เสนอตัวตนบนพรมแดง ไม่หมดเพียง เท่านั้น แอนนายังสร้างปรากฏการณ์กับยอดระดมทุนที่สูงเป็น ประวัติการถึง 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาแล้ว
ถึงแม้บทบาทของบรรณาธิการที่เธอแสดงออกมาจะดูเย็น ชา แต่เธอก็มีมุมอ่อนโยน ดูจากเวลาที่เธออยู่กับลูกๆ ทั้ง 2 คน โดยเฉพาะบี (Bee Shaffer) ลูกสาวที่ดูสนิทสนมเป็นพิเศษ เพราะเธอมักจะพาไปออกงานอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็ไม่ได้ละเลย ลูกชายสุดที่รักอย่างชาร์ลส์ ที่แอนนาเคยออกมาให้สัมภาษณ์ ถึงความห่วงใยต่อลูกชายเพราะงานในฐานะแพทย์ด่านหน้าช่วง สถานการณ์โรคระบาดที่เกิดขึ้นว่า “ลูกชายของฉันเป็นแพทย์ ด่านหน้าที่คอยให้ความช่วยเหลือเหล่าคนไข้ แต่ตอนนี้เขากำ ลัง ป่วย และกำ ลังกักตัวอยู่บ้าน แต่อีกไม่นานเขาจะกลับไปทำ งาน ที่โรงพยาบาลหลังจากที่เขาหายดี ฉันรู้สึกภูมิใจในตัวเขามาก และอยากขอบคุณบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ที่ต่อสู้กับโรค ระบาดเพื่อช่วยชีวิตของพวกเรา”… เป็นบทสัมภาษณ์ที่สะท้อนจิต วิญญาณความอ่อนโยนของความเป็นแม่ที่ห่วงใยลูกอย่างท่วมท้น
ถึงแอนนาจะขึ้นชื่อเรื่องความจุกจิก ไม่เป็นมิตร เอาแต่ใจ ชอบบงการ แต่ทุกอย่างล้วนเป็นเพราะงาน ความเป็นมืออาชีพ ทำ ให้เธอไม่สามารถมองข้ามข้อบกพร่องเล็กๆ ไปได้ งานทุกชิ้น จะต้องเพอร์เฟกต์ก่อนปล่อยออกสู่สายตาชาวโลก เพราะเมื่อไร ที่พลาดหรือล้ม จะเป็นเรื่องยากที่เธอและโว้กจะกลับมายืนดังจุด เดิมได้อีกครั้ง
อ่านฉบับเต็มได้ที่ นิตยสารข้ามห้วงมหรรณพ ฉบับที่ 55 สมัครสมาชิก คลิ๊กที่นี่